วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาไม้แกะมหาลาภ ปี 37-38







ในการสร้างพระพิมพ์ต่างๆของครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระผงซะส่วนมาก แต่มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นที่ไม่ใช้พระผงแต่เป็นพระไม้แกะครับ เรียกว่าพระปิดตาไม้แกะมหาลาภ สร้างปี 37 ครับแล้วทำการอธิฐานจิต จนถึงปี 38 ครับเพราะฉะนั้น พุทธคุณเต็มเปี่ยมเลยก็ว่าได้ ส่วนประวัติการสร้างนั้น คุณเมี้ยน เปียผ่องได้นำไม้คูณ (ต้นลมแล้ง) ตายพรายมา 1 ท่อนแล้วทำการผ่าซีกให้เป็นท่อน ๆ ครับ จากนั้นได้ทำไปกลึงให้เป็นท่อนกลมๆ โดย คุณสมบัติ สมพัตร และคุณชัยเกียรติ เลียวหิรัญ (ซึ่งเป็นลูกศิษย์และผู้ช่วยคุณเมี้ยน เปียผ่องในสมัยนั้น) แล้วจึงส่งคืนให้คุณเมี้ยน เปียผ่องและเพื่อนช่วยกันแกะครับจำนวนการสร้างทั้งหมดมีจำนวน 202 องค์ครับ ลักษณะเป็นพระปิดตา ลององค์ โดยทุกองค์จะต้องมีการตอกโค๊ต เป็นรูปดอกจันและ ต.เต่าทุกองค์ บางองค์ อาจจะตอกด้านหลัง และบางองค์ก็อาจจะตอกใต้พระก็มี ชึ่งโค๊ตที่ใช้ตอกในตอนนั้น ได้ทำขึ้นโดย คุณชัยเกียรติ เลียวหิรัญ แบ่งลักษณะของโค๊ตได้อยู่ 3 ชนิด คือ ต.เต่าหางยาว ต.เต่าหางสั้น และดอกจันครึ่งเสี้ยวครับ และที่สำคัญที่สุด พระทุกองค์จะต้องมีการฝังตะกรุด เงินบริเวณใต้องค์พระทุกองค์ครับ แต่จะมีที่พิเศษต่างออกไปคือ มีการฝั่งตะกรุด 3 กษัตย์ (ทอง เงิน ทองแดง) เพียง 19 องค์เท่านั้น ซึ่งตะกรุดที่ใช้ฝังในวัตถุมงคลของครูบาจันตุ๊นั้น ได้แบ่งแยกเป็นการลงอัขระและผู้ถวายดังนี้
1.ตะกรุดทองคำ ได้ถวายโดยนายชัยเกียรติ เลียวหิรัญและได้ลงอักขระโดยครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
2.ตะกรุดเงินได้ถวายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง ลงอักขระโดยพระราชพรหมาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
3.ตะกรุดทองแดงได้ควายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง และคุณสมชาย เรืองศิลา
พระปิดตาไม้แกะครูบาจันต๊ะนั้นอย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ว่ามีการแกะโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง และเพื่อนอีก 2 คน เพราะฉะนั้นศิลปะก็จะไม่เหมือนกัน แต่ให้สังเกตที่ตะกรุดและโค๊ตที่ใช้ตอกให้ดี สำหรับเนื้อไม้นั้นมีเพียงไม้คูณเท่านั้น ไม่มีไม้ชนิดอื่นครับ แต่ก็จะมีพิเศษบ้างคืองานช้าง และ กาลาปัง หาดำ ครับผม แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าหายากสุด ๆ ครับ



....ต้น ไม้มงคล....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น