วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระผงกลีบบัวรุ่นแรก




พระผงกลีบบัวรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ อนาวิโล สร้าง ปี 2538 ถัดจากขุนแผนรุ่นแรก ครับ ใช้มวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก แต่จำนวนการสร้างนั้นน้อยมาก และไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสร้างกี่องค์น่าจะประมาณพันองค์เศษเท่านั้น เป็นพระผงนั่งสมาธิบนขาโต๊ะรูปโดยรวมคล้ายใบโพธ์ แต่กลับเรียกว่าพระผงกลีบบัว สร้างแค่พิมพ์เดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นแบบธรรมดาและแบบฝังตะกรุด สำหรับตะกรุดที่ฝังนั้นจำแนกออกเป็นตะกรุดเงิน ตะกรุดทองแดง และตะกรุดตะกั่ว และแบ่งสีของพระได้คือขาว ดำ เหลือง แดงครับ พระผงพิมพ์กลีบบัวครูบาจันต๊ะนั้นถือได้ว่าพิมพ์ที่พบหาได้ยากเลยพอดู เพราะว่าสร้างน้อยแต่สำหรับความนิยมนั้นจัดว่ายังเป็นรองพระผงพิมพ์ขุนช้างและขุนแผนอยู่หลายเท่าตัว แต่ถ้าองค์สวย ๆ และมีตะกรุดเงินด้วยแล้ว จะหายากมากกว่าแบบธรรมดา ส่วนมวลสารที่ใช้ทำนั้นก็เป็นมวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก เพราะฉะนั้นพุทธคุณไม่ต่างอะไรกันเลยครับ


...ต้น ไม้มงคล...

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระผงยันต์ครอบจักรวาล




นอกจากการสร้างพระขุนแผนรุ่น 2 แล้วยังมีพระผงอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งได้มีการสร้างในพิธีเดียวกัน และที่สำคัญได้ใช้มวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่น 2 ทุกประการ ซึ่งวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นนั้น ลักษณะเป็นลักษณะรูปไข่ ด้านหน้าเป็นยันต์ตัวขอมมีพระพุทธประทับในรัศมี บอกชื่อครูบาจันต๊ะ ด้านหลังเป็นยันต์ บอกชื่อวัดและปีที่ทำ โดยเรียกพระผงชุดนี้ว่า “ ผงยันต์ครอบจักรวาล ” จำนวนการสร้างนั้นน้อยกว่าขุนแผนรุ่น 2 ครับโดยสร้างทั้งหมด 4,985 องค์เท่านั้น แบ่งเป็น
1. ชนิดธรรมดา 4,483 องค์ ( ยันต์ตรง )
2. ชนิดพิเศษ 502 องค์ ( ยันต์กลับ )
ทำการปลุกเสกพร้อมขุนแผนรุ่น 2 ขอบอกท่านผู้อ่านได้เลยว่าพระผงยันต์ครอบจักรวาลนี้สร้างน้อยกว่าขุนแผนรุ่น 2 แต่มวลสารที่ใช้ทำนั้นเป็นชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม แห่งวัดระหารไร่ จังหวัดระยองครับ เพราะฉะนั้นพระผงยันต์ครอบจักรวาลนี้ หายากกว่ามากพระผงขุนแผนรุ่น 2 ครับ


...ต้น ไม้มงคล...

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่น แรกปี 35


หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่น แรกปี 35
เมื่อปี พ.ศ. 2535 นอกจากที่ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโลจะได้สร้างวัตถุมงคลเนื้อผงพิมพ์ขุนช้าง ดังที่ไก้กล่าวมาในครั้งก่อนแล้ว ท่านครูบาจันต๊ะ ยังได้ให้มีการสร้างวัตถุมงคลอีกชุดหนึ่งซึ่งสร้างพร้อมกับขุนช้างรุ่นแรก แต่พอทำการปลุกเสกเสร็จแล้ว ได้นำไปถวายให้วัดพระธาตุดอยขะม้อจังหวัดลำพูนนั้น ได้แก่ พระผงพิมพ์หลวงปู่ทวดและพระผงพิมพ์พระรอด หรือที่บรรดาลูกศิษย์เรียกทั่วไปในสนามพระว่า “หลวงปู่ทวดครูบาจันต๊ะรุ่นแรก” หรือ “หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่นแรก” ครับ หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่นแรกนั้น สร้างปี 2535 ถวายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง แบ่งเป็นทั้งหมด 3 พิมพ์ได้แก่

1) พิมพ์ใหญ่สร้าง 1384 องค์ แบ่งเป็นแบบธรรมดา 731 องค์ และแบบทาทอง 653 องค์
2) พิมพ์กลางสร้าง 2552 องค์ แบ่งเป็นธรรมดา 1626 องค์ และทาทอง 726 องค์
3) พิมพ์เล็กสร้าง 1296 องค์ แบ่งเป็นธรรมดา 880 องค์ และทาทอง 416 องค์
นอกจากการสร้างพระผงพิมพ์หลวงปู่ทวดแล้ว ท่านยังได้มีการสร้างวัตถุมงคล เป็นพิมพ์พระรอดอีกหนึ่งพิมพ์ ซึ่งใช้เนื้อมวลสารในการทำเป็นชนิดเดียวกันกับหลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อ และพระผงพิมพ์ขุนช้าง แต่สร้างน้อยสุดและหายากพอสมควร คือการสร้างทั้งหมด 944 องค์ แบ่งเป็นธรรมดา 572 องค์ และทาทอง 372 องค์ เท่านั้น
นอกจากการสร้างพระพิมพ์หลวงปู่ทวดและพระรอดแล้ว ทีนี้เราลองมาดูมวลสารที่ใช้สร้างวัตถุมงคลชุดนี้ดูบ้างว่ามีอะไรที่สุดยอดใส่ลงไปบ้าง เริ่มต้นจากเนื้อเกสรดอกไม้แห้งบูชาของวัดต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ฯลฯ และยังมีผงตะใบหลวงปู่ทวด เนื้อทองเหลือง ผงตะใบตระกรุดครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ผงสมเด็จหลังสิวลีหลวงพ่อกวย ชัยนาท พระผงขุนช้างรุ่นแรก ครูบาจันต๊ะที่ชำรุด ผงใบสาน ผงขี้ธูป ผงยันต์เผา หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ ดินพันปีวัดประตูลี่ลำพูน น้ำทิพย์วัดดอยขะม้อ กาฝากมงคลต่าง ๆ ว่าน 180 ปูนขาว เปลือกหอยเผา น้ำมันตั้งอิ๋ว พระผงต่าง ๆ ที่ชำรุด ลูกขนุนตายพราย ฯลฯ
สำหรับพุทธคุณของพระผงพิมพ์หลวงปู่ทวดและพระรอดนั้น ยอมรับเป็นเสียงเดียวกัน ว่า เหนียวจริง ๆ ครับ เดินทางปลอดภัยค้าขายเป็นเลิศ จากคำบอกเล่าประสบการณ์จากชาวบ้านที่ได้แขวนพระพิมพ์หลวงปู่ทวดท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อประมาณปี 2540 ที่มีข่าวดังครึกโครม เกี่ยวกับโรงงานลำไยระเบิดที่ อ.สันป่าตอง ท่านผู้นี้ได้แขวนหลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อในตอนนั้น ปรากฏว่าได้มีเหตุดลใจอะไรบ้างอย่างที่พยายามทำให้ท่านผู้นี้ออกจากโรงงาน ก่อนจะเกิดเหตุ ปรากฏว่าพอออกจากโรงงานลำไยได้ชั่วโมงกว่า ๆ ก็เกิดเหตุระเบิดขึ้นเหมือนกับว่าท่านครูบาจะดลใจให้รอดพ้นอันตรายจริง ๆ ครับ สนนราคาในการเช่าหาหลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อนั้น อยู่ที่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น เพราะว่ามีคนรู้จักน้อย และขอบอกว่าพุทธเกินหลักหมื่นแน่นอนครับ
ต้น ไม้มงคล

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก











พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก
จากความเดิมตอนที่แล้วหลังจากได้กล่าวถึงวัตถุมงคลของท่านครูบาจันต๊ะ อนวิโลในพิมพ์พระปิดตาไปสองพิมพ์แล้วนั้น สำหรับในตอนนี้จะกล่าวถึง พระผงพิมพ์พระปิดตา อีก 2 พิมพ์ ที่ยังเหลืออยู่นั้นคือ
3. พระปิดตาพิมพ์กลาง เป็นพระเนื้อผงหลังเรียบกดพิมพ์ด้วยมือ ขนาดสูงประมาณ 3 เซนติเมตร กว้าง 2.6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือแบบชนิดที่มีการตัดขอบ และแบบชนิดที่ไม่มีการตัดขอบ ซึ่งมีลักษณะองค์พระนั้นจะคล้ายกันแต่จะมีลักษณะปีกขอพระกว้างและแคบเท่านั้นเอง สำหรับพระปิดตาพิมพ์กลางนั้นมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่และจัมโบ้อย่างเห็นได้ชัดด้านหลังพระเรียบไม่มีการลงอักขระและปั๊มตราใด ๆ ทั้งนั้น เนื้อพระบางองค์จะมีการเคลือบแล็คเกอร์เพราะว่าป้องกันการผุกร่อนของเนื้อพระ แต่ไม่มีการทาทองบรอนซ์แต่อย่างใด ซึ่งมีจำนวนการสร้างดังนี้
1) พิมพ์กลางสีเหลือง และขาวสร้าง 1,267 องค์
2) พิมพ์กลางสีดำสร้าง 21 องค์
3) พิมพ์กลางผังเม็ดพระธาตุสร้าง 9 องค์
ซึ่งในการสร้างพระปิดตาพิมพ์กลางนี้ ไม่มีการสร้างพระแบบทาทองครับ
4. พระปิดตาพิมพ์เล็ก (จิ๋ว) เป็นพระปิดตารูปสามเหลี่ยม สูงประมาณ 1.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร เท่านั้น พระปิดตาพิมพ์เล็กนั้นก็แบ่งได้ออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ปิดตาสามเหลี่ยมและปิดตาปุ้มปุ๊ยครับ ด้านหลังเรียบไม่มีการลงอักขระ หรือปั๊มตรายางใด ๆ จำนวนการสร้างก็มีดังนี้ส่วน
1) พิมพ์เล็กสีเหลืองและขาวสร้าง 1,700 องค์
2) พิมพ์เล็กสีดำสร้าง 39 องค์
3) พิมพ์เล็กผังเม็ดพระธาตุสร้าง 45 องค์
รวมทั้งหมดสร้าง 1,784 องค์ โดยถวายให้วัดหนองช้างคืนจำนวน 1,055 องค์ ที่เหลือ 729 องค์
นำไปถวายให้วัดแถบภาคกลางครับ
ปัจจุบันการหาชมพระปิดตาของครูบาจันต๊ะนั้นต้องบอกว่า หาชมได้อยากขึ้นทุกวันแล้วเหตุผลก็เพราะว่าในการสร้างถวายนั้น ได้มีการสร้างจำนวนน้อย ประกอบกับพระผงของครูบาจันต๊ะยุคต้นนั้น ไม่ได้มีการผสมปูนขาวเพื่อยึดเกาะมวลสารเลย ฉะนั้นพระผงยุคแรกนั้นจึงไม่ทนต่อความชื้น ทำให้พระเสียหายครับ จึงเป็นสาเหตุของการนำพระยุคต้นไปทาแล็กเกอร์ครับ ซึ่งพระปิดตาพิมพ์เล็กนั้นถือได้ว่าเป็นพระปิดตาที่หาได้อยากที่สุดเลยครับ บางท่านอาจคิดว่าจำนวนการสร้างนั้นมากกว่า พระปิดตาพิมพ์กลาง และทำไมจึงเป็นที่หายากว่า สาเหตุก็เพราะว่า พระปิดตาพิมพ์เล็กนี้เป็นพระที่มีขนาดเล็กมาก และนิยมนำไปให้เด็กไว้แขวนติดตัว ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการเก็บรักษาอย่างดีทำให้ตกหายบ้างหรือโดนน้ำแล้วเกิดการผุพังบ้าง และพระพิมพ์เล็กนี้เมื่อกดพิมพ์แล้วปรากฏว่าไม่ค่อยสวย บางองค์เนื้อไม่ติดเต็มองค์พระก็มี สาเหตุก็เพราะว่า เนื้อพระที่นำมากดนั้นมีความหยาบและพิมพ์ที่ใช้กดนั้น เล็กมากจึงเป็นเหตุให้ไม่เกิดการสมดุลในการกดพิมพ์ครับ ซึ่งพระที่ไม่สวยหรือกดไม่เต็มนั้น ได้ทำการคัดแยกแล้วเก็บไว้ โดยท่านครูบาได้นำพระชุดนี้ไปบด แล้วใช้ผสมกับมวลสารในการสร้างพระขุนแผนรุ่นแรกนั้นเองครับส่วนราคาในการเช่าหาก็อยู่หลักพันต้น ๆ ครับ แต่ถ้าองค์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขึ้น เช่น ฝังเม็ดพระธาตุหรือฉนวนหล่อพระธาตุ ราคาก็จะขยับตัวขึ้นไปครับ สำหรับลูกศิษย์ทั้งหลายที่หาพระพิมพ์หลัก ๆ ไม่ได้ก็ขอแนะนำให้ลองหั้นมาเก็บพระพิมพ์ลอง ๆ กันดีกว่า ราคาเบากว่าแต่พระพุทธคุณเยี่ยมพอกันครับ
พุทธคุณของพระปิดตาศิริคูณไชย์นั้น เด่น ไปเมตตามหานิยมและการค้าการขายครับ สนนราคาในการเช่าหานั้น พิมพ์ทาทองอยู่ที่ประมาณพันต้น ๆ ครับ ส่วนพิมพ์ธรรมดาอยู่ที่ประมาณหลักร้อยปลาย ๆ ถึงหลักพันต้น ๆ ครับ ของดีราคาเบาอย่างนี้มีไว้ติดตัว สบายใจ หายห่วงครับท่าน
ต้น ไม้มงคล

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์จัมโบ้ทาทองและพิมพ์ใหญ่




พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์จัมโบ้ทาทองและพิมพ์ใหญ่
ครูบาจันต๊ะ อนวิโล แห่งวัดหนองช้างคั้น จ.ลำพูนถือได้ว่าเป็นพระสงฆ์ผู่ที่ปฏิบัติธนรรมอย่างเคร่งครัด เป็นที่เคารพศรัทธา แก่บรรดาญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหาอย่างมาก นั้นก็เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้วัตถุมงคลของท่านเป็นที่ต้องการอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง สาเหตุอีกประการก็คือวัตถุมงคลหรือพระเครื่องของท่านนั้นส่วนใหญ่จะสร้างจากเนื้อผง ยิ่งถ้าเป็นยุคตั้งแต่ปี 2538 ลงไปแล้ว เนื้อผงของท่านไม่ได้ใส่ปูนเปลือกหอยมากเท่าที่ควร ดังนั้นเนื้อพระผงของครูบาจันต๊ะรุ่นแรก ๆ นั้น “โดนน้ำไม่ได้” เพราะจะเกิดการเปลื่อยยุ่ยของเนื้อพระ หรือบางคนไม่ทราบและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโดนน้ำไม่ได้ ดังนั้นจึงมีการนำเอาพระผงของครูบาจันต๊ะ ไปเคลือบแล็คเกอร์ไว้ใช้ติดตัว หรือบางคนก็เลี่ยมพลาสติกกันน้ำไปเลยที่มี
ที่นี้เราจะมาพูดถึงวัตถุมงคลของท่านครูบาจันต๊ะอีกอย่างหนึ่งนั้นคือพระปิดตาครูบาจันต๊ะ อนวิโล หรือ พระปิดตาศิริคูณไชย ซึ่งสร้างถวายโดย คุณเมี้ยน เปียผ่อง เมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2536 ที่วัดหนองช้างคืน เพื่อหาปัจจัย ร่วมบูรณะวัดหนองช้างคืน ซึ่งมวลสารที่ใช้ทำได้แก่ เส้นเกษาครูบาจันต๊ะ อนวิโล จีวร ก้นบุหรี่หลวงพ่อคุณปริสุทโทวัดบ้านไร่ เม็ดพระธาตุวัดดอยขะม้อ ชนวนหล่อพระโมคลาพระสาลีบุตรวัดห้วยทรายใต้เพชรบุรี อิฐโบสถ์เก่าวัดหนองช้างคืน น้ำสรงพระพุทธสิหิงค์วัดพระสิงห์เชียงใหม่ น้ำมนต์วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ กาฝากไม้มงคลนานาชนิด เนื้อดินพระสกุลลำพูน ผงเกสรดอกไม้ 108 น้ำมันตั้งอิ๋ว ฯลฯ ซึ่งในการสร้างนั้น ได้ทำการสร้างพระผงพิมพ์ปิดตาทั้งหมด 4 พิมพ์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. พิมพ์จัมโบ้ ลักษณะเป็นพระปิดตา หลังเรียบ ขอบของพระจะตัดเรียบทุกองค์ โดยมีจำนวนการสร้างดังนี้
1) พิมพ์จัมโบ้ธรรมดา สร้าง 1,567 องค์
2) พิมพ์จัมโบ้ทาทองสร้าง 628 องค์
3) จัมโบ้สีดำสร้าง 96 องค์
4 ) พิมพ์จัมโบ้ผังเม็ดพระธาตุสร้าง 4 7 องค์
รวมทั้งหมดสร้าง 2,338 องค์ ถวายให้วัด 1,489 องค์ ที่เหลือนำไปถวายวัดแถบภาคกลางอีก 849 องค์
2. พิมพ์ใหญ่ จะแลดูคล้ายกับพิมพ์จัมโบ้เล็กน้อย แต่แขนจะแลดูเรียวและเล็กกว่าเล็กน้อยแบ่งได้ดังนี้
1) พิมพ์ใหญ่ธรรมดาสร้าง 2,635 องค์
2) พิมพ์ใหญ่สีดำสร้าง 77 องค์
3) พิมพ์ใหญ่ผังเม็ดพระธาตุสร้าง 7 องค์
4) พิมพ์ใหญ่ผังขานาหล่อพระสร้าง 114 องค์
โดยพิมพ์ใหญ่นี้จะไม่มีการทาทองครับ รวมทั้งหมดสร้าง 2,833 องค์ ถวายให้วัด 2,143 องค์ ที่เหลือ
นำไปถวายให้วัดแถบภาคกลางอีก 690 องค์

ต้น ไม้มงคล