วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รายละเอียดการจัดสร้าง พระสิงห์หนึ่งหล่อโบราณ ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ ม่อนปู่อิ่น




เจตนาของการสร้างพระสิงห์หล่อโบราณ ครูบาตั๋น ปัญโญ ครั้งนี้เป็นความต้องการของหลวงปู่ครูบาตั๋นที่ต้องการสร้าง ศาลาปฏิบัติธรรม แทนที่กุฏิไม้หลังเก่าซึ่งมีคนมารับเป็นเจ้าภาพแล้ว และได้รื้อถอนกุฏิหลังเก่าของหลวงปู่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ยอมมาทำตามที่รับปากไว้ ทางคณะศรัทธารวมถึงศิษย์ยานุศิษย์ รวมทั้ง ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และ พัฒนาการอำเภอ คุณ อดุลย์ ได้หารือกันและจัดสร้างพระสิงห์หล่อโบราณขึ้น จำนวน 199 องค์ พอถึงวันหล่อพระวันที่ 5 ธันวาคม ปรากฏว่ายอดจองเต็ม ก่อนหลวงปู่จะออกมาเททองอีกครับ และ ในงานหล่อพระสิงห์( หล่อโบราณ ) ได้เกิดเหตุน่าอัศจรรย์เกิดขึ้น ก่อนหลวงปู่จะสวดชยันโต เพื่อทำการหล่อพระสิงห์ ปรากฏว่าจู่ๆฟ้าที่ดูคลื้มๆ กลับเปลี่ยนเป็นแสงแดดจ้าและได้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้น เป็นที่กล่าวขานกันในบรรดาผู้คนที่ไปร่วมงานในวันนั้นเป็นอย่างมากครับ และพระชุดนี้ได้ทำการตอกโค๊ท ไว้ที่ด้านหลังพระและหมายเลขไว้ที่ใต้ฐานของพระ และได้มีการทำลายบล็อกและแม่พิมพ์ ต่อหน้าหลวงปู่และสักขีพยานจำนวนมากหลังจากที่หล่อพระเสร็จในวันที่ 5 ธันวาคมแล้ว และให้หลวงปู่อธิฐานจิตปลุกเสกอีกรอบในวันที่ 9 ธันวาคม ได้พระสิงห์หล่อโบราณจำนวนทั้งหมดจำนวน 199 องค์ พระสิงห์แบบไม่ตัดช่อแจกกรรมการที่มาช่วยงานจำนวน 45 องค์ และพระสิงห์หน้าตัก 5 นิ้ว 5 องค์ พระสิงห์หน้าตัก 9 นิ้วอีก 2 องค์ ( พระสิงห์ 5 , 9 นิ้วช่างหล่อแถมให้และได้มอบให้แก่พระพบ สังวโร พระเลขาหลวงปู่ตั๋นไว้ ) โดยพระพบ สังวโร ได้นำพระสิงห์หน้าตัก 9 นิ้ว ไว้ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น 1 องค์ และอีกองค์ได้เอาไปไว้ที่วัดศรีแดนเมือง และปัจจัยทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งหมดก็จะนำมาสร้างศาลาปฏิบัติธรรมโดยทันที ขอขอบคุณผู้ที่มีจิตศรัทธาเช่าพระสิงห์หล่อโบราณทุกๆท่าน และผู้ที่ร่วมบุญนี้ทุกๆคน ขอให้บารมีครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ได้เมตตาจารแผ่นเงิน แผ่นทอง มาเป็นชนวนหล่อพระสิงห์หล่อโบราณในครั้งนี้ และบารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาตั๋น จงปกปัก รักษาท่าน ให้โชคดี มีชัย ทำมาค้าขึ้น แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง ขอให้บุญนี้ส่งคืนไปถึงท่าน ร้อยเท่าพันเท่า และมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปอีกเทอญ



รายนามแผ่นจารอธิฐานจิตครูบาอาจารย์ที่นำมาหล่อ พระสิงห์หล่อโบราณ ครูบาตั๋น ปัญโญ




1. แผ่นจาร ครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น


2. แผ่นจาร ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฑฒิราษฏร์ (บ้านฟ่อน)


3. แผ่นจาร ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง (วัวลาย)


4. แผ่นจาร พระธรรมสิทธาจารย์ ( ครูบาทอง สิริมังคโล ) วัดพระธาตุศรีจอมทอง


5. แผ่นจาร พระครูพินิจสารธรรม ( ครูบาพรรณ ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


6. แผ่นจาร พระครูประจักษ์ธรรมวราภรณ์ ( ครูบาข่าย ) วัดหมูเปิ้ง


7. แผ่นจาร พระครูบวรสุขบท ( ครูบาสุข ) วัดป่าซางน้อย


8. แผ่นจาร พระครูถาวรศีลพรต ( ครูบาอินถา ) วัดอินทราพิบูลย์ ( หนองไคร้ )


9. แผ่นจาร พระครูสังวราภิมณฑ์ ( ครูบาคำ สังวโร) วัดศรีดอนตัน


10. แผ่นจาร พระเทพวิสุทธิคุณ วัดบุพผาราม


11. แผ่นจาร ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง


12. แผ่นจาร พระครูพิมลธรรมรัตน์ ( ครูบาตั๋น เตชธัมโม ) วัดย่าพาย


13. แผ่นจาร พระครูวิจิตวรวัฒน์ ( ครูบาลือ ) วัดห้วยแก้ว


14. แผ่นจาร พระครูถาวรธรรมวัตร ( ครูบายืน ) วัดสบล้อง


15. แผ่นจาร พระครูโพธิโสภณ ( ครูบาศรีวัย ) วัดหนองเงือก


16. แผ่นจาร พระครูมงคลพิบูลย์ (ครูบาบุดดา) วัดหนองบัวคำ


17. แผ่นจาร พระครูโสภณสารคุณ ( ครูบามา ) วัดศิริชัยนิมิต ( กิ่วแลป่าเป้า )


18. แผ่นจาร พระครูปัญญาวราภรณ์ ( ครูบาแก้ว ) วัดศรีชุม


19. แผ่นจาร พระครูประภากรพิสุทธิ์ ( ครูบาปั๋น ปัญโญ ) วัดป่าแดด


20. แผ่นจาร พระครูธรรมโกศล ( ครูบาอินเหลา ) วัดร้องวัวแดง


21. แผ่นจาร พระครูพิพิธปุญญาภิรัต ( ครูบาอินตา กตปุญโญ ) วัดศาลา


22. แผ่นจาร พระครูอรรถกิจจาทร ( ครูบาอุ่น อัตถกาโม ) วัดโรงวัว


23. แผ่นจาร พระราชพุทธิมงคล ( หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร ) วัดโรงธรรมสามัคคี


24. แผ่นจาร หลวงปู่สังข์ สังข์กิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ


25. แผ่นจาร พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก


26. แผ่นจาร พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่


27. แผ่นจาร หลวงปู่บุญจันทร์ จันทสโร วัดถ้ำผาผึ้ง


28. แผ่นหล่อพระ หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด


29. แผ่นอธิฐานจิต พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล


30. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม




31. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่บัวไข สนัตจิตโต วัดสันติสังฆาราม


32 . แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่จันทร์เรียน


33. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่ท่อน ญาณวโร วัดศรีอภัยวัน


34. แผ่นจาร หลวงปู่มหาสนั่น พุทธปัญโญ วัดป่าเวฬุวัน


35. แผ่นจาร ท่านเจ้าคุณชินวงษ์ศาจารย์ วัดป่าเวฬุวัน


36. แผ่นจาร หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม


37. แผ่นจาร หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์


38. แผ่นจาร หลวงปู่แตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล


39. แผ่นจาร หลวงปู่คำดี ปัญญาภาโส วัดป่าสุทธาวาส


40. แผ่นจาร หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปัญญาปทาราม


41. แผ่นจาร หลวงพ่อกวง วัดป่านาบุญ


42. ชนวนหล่อรูปหล่อ หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง


43. ชนวนน้ำมนต์ผ่านการทำน้ำมนต์จากครูบาอาจารย์หลายรูป


44. ชนวนหลวงพ่อเงิน รุ่นฟ้าคำรณ วัดบางคลาน


45. ชนวนพระเก่า ของคุณ จรูญ สุจริตกุล


46. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่เหรียญ วรลาโก


47. แผ่นหลังล็อคเก็ตรุ่นแรกสี่เหลี่ยม ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่เหลือหลัง เงิน นวะ ทองแดง


48. ชนวนหล่อพระ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่


49. ชนวนหล่อพระหลวงพ่อโสธร


50. พระกริ่งจอมสุรินทร์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


51. พระกริ่งน้ำมนต์หลวงพ่อเกษม เขมโก


52. เหรียญหลวงปู่แหวน วัดเจดีย์หลวง


53. พระปรกหลวงปู่คำพัน โฆสโก


54. เป้ง,กระดิ่งเก่า,เชิงเทียนบูชาพระเก่าของวัด


55. ตะกรุดลูกสมอครูบาสิทธิ อภิวัณโณ วัดปางต้นเดื่อ


56. เหรียญคณาจารย์อีกหลายสำนัก




รวบรวมชนวนแผ่นจารแผ่นอธิฐานจิตทั้งหมดโดย



1. พระพบ สังวโร


2. คุณ ศิริชัย ไลศิริพันธุ์


3. คุณ ธนวัฒน์ ธนทิภากร



สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ที่ได้บริจาคชนวนมาหล่อพระสิงห์หล่อโบราณครูบาตั๋นทุกๆท่าน และขออภัยที่ไม่ได้เอ่ยนามทุกๆท่านครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ






วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปลัดขิกครูบาจันต๊ะ อนาวิโล







ต้องยอมรับว่า วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล แห่งวัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน มาแรงจริงๆ ครับ และสำหรับในตอนนี้คงจะต้องกล่าวถึงเครื่องรางของขลัง สายครูบาจันต๊ะ อีกอย่างหนึ่งที่มาแรงไม่แพ้ตะกรุดเลยก็ว่าได้ เครื่องรางที่จะกล่าวถึงนั้นก็คือ ปลัดขิกไม้แกะครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
ในการสร้างปลัดขิกครูบาจันต๊ะนั้นเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. 2538 หลังการสร้างพระขุนแผนประมาณ 1 ปี โดยในการสร้างครั้งแรกนั้นได้ใช้ไม้คูน (ต้นลมแล้ง) ตาพรายมาสร้าง พร้อมกับพระปิดตาไม้แกะของท่านครูบา ซึ่งจำนวนในการสร้างปลัดขิกครั้งแรกนั้นไม่มีข้อมูลแน่ชัดแต่จากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ท่านแล้วไม่น่าจะเกิน 300 ตัวเท่านั้นโดยวิธีการสร้างนั้นได้นำไม้คูนตายพรายมาซอยผ่าเป็นซีกๆแล้วนำไปกลึงให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตร แล้วจึงนำไปแกะครับ เมื่อแกะเสร็จแล้วได้มีการตกแต่งด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อยทุกตัว ฉะนั้นปลัดขิกครูบาจันต๊ะที่สร้างครั้งแรกนั้นต้องสวยทุกตัวครับ เสร็จแล้วครูบาจันต๊ะจึงได้ลงอักขระบนปลัดขิกทุกตัว ซึ่งบางตัวใช้ดินสอ บางตัวใช้ปากกา หรือที่พบเห็นใช้เหล็กจารอย่างเดียวก็มี พอสร้างเสร็จก็กลายเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านมาก จนของที่ทำไม่พอแจก จากนั้นจึงได้มีการสร้างอีกครั้งในปีเดียวกันแต่ไม้ที่ใช้ทำจะแตกต่างกันกับตอนที่สร้างครั้งแรกคือ ใช้ไม้ขนุน , มะยม , ไม้สัก , เขากวาง , งาช้าง และ กัลปังหาดำ เป็นต้น เป็นเพราะว่าในการสร้างครั้งที่ 2 นี้ต้องสร้างให้ทันก่อนสิ้นปีเพราะจะได้ถือว่าเป็นรุ่นเดียวกัน ท่านครูบาจันต๊ะจึงให้ลูกศิษย์ช่วยกันแกะมากกว่า 1 คน ฉะนั้นพอแกะเสร็จ ปรากฎว่าศิลปะในการแกะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงมีการใช้โค๊ดตอกบนปลัดขิก ชึ่งเป็นโค๊ดตัวเดียวกันกับที่ใช้ตอกพระบิดดาไม้แกะครับ สำหรับโค๊ดที่ใช้ตอกนั้นจะมี 3 ชนิด คือ ต.หางสั้น , ต.หางยาว และตัวดอกจันครึ่งเลี้ยวครับ ซึ่งก็ได้พบว่าในการสร้างปลัดขิกครั้งที่ 2 นี้มีทั้งที่ได้ลงอักขระและไม่ได้ลงอักขระ เพราะว่าไม้บางชนิดนั้นมีความแข็งมาก



หลายท่านอาจสับสนในการแยกแยะปลัดขิกของครูบาดวงดี และครูบาจันต๊ะครับ ปลัดขิกของครูบาดวงดีนั้นสร้างภายหลังครูบาจันต๊ะหลายปีครับ แตไม้ที่ใช้ส่วนมากจะเป็นชนิดเดียวกันกับครูบาจันต๊ะและผู้สร้างถวายก็เป็นคน ๆ เดียวกัน ต่างกันตรงที่การจารอักขระและโค๊ดที่ใช้ตอกครับ สำหรับครูบาดวงดีนั้นจะเป็นการจารแบบสวยงาม ซึ่งในการจารนั้นไม่ได้ใช้เหล็กจารครับแต่จะใช้หินกรอฟันในการจารครับ ซึ่งดูสวยงามกว่าครูบาจันต๊ะ ส่วนโค๊ดที่ใช้ตอกนั้นครูบาจันต๊ะจะมีสามตัวคือ ต.หางสั้น ต.หางยาว และดอกจันเท่านั้นครับ ขอย้ำว่ามีโค๊ดแค่สามตัวเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดต้องตอกทั้งสามตัวครับ สำหรับครูบาดวงดีนั้นจะตอกโค๊ด ด.ครับ ไม่ใช้ ต. แต่ในการตอกนั้น โค๊ด ด.นั้นไม่มี ก็เลยใช้โค๊ด ต. แทนแต่ก็มีการดัดแปลงตัว ต. ให้เหมือนตัว ด. แต่ในที่สุดโค๊ดที่ใช้ตอกก็ดูคล้ายกับ ต. อยู่ดี เลยทำให้คนที่แสวงหาปลัดขิกครูบาจันต๊ะเข้าใจผิดเพี้ยนไปครับ โปรดพิจารณาให้ดี ครูบาจันต๊ะตัวจริงนั้นจะต้องมีสามโค๊ดครับ
ซึ่งพุทธคุณของปลัดขิกครูบาต๊ะ อนาวิโลนั้นได้ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันในบรรดาผู้ที่ใช้ ในเรื่องของเมตตานิยม , โชคลาภ , ค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่างๆ ในการเช่าหาปลัดขิกครูบาต๊ะ อนาวิโลนั้น ผู้ที่เช่าต้องมั่นใจในที่มาของปลัดขิก ประกอบกับต้องเคยเห็นของแท้มาก่อน และสามารถดูโค๊ดให้เป็น ซึ่งในสนามพระนั้นสนนราคาเช่าหาอยู่ประมาณหลักพันต้นๆ ถึงพันกลางๆ ครับขึ้นอยู่กับความสวยงามและเนื้อวัสดุที่ใช้แกะปลัดขิก สำหรับ เนื้อวัสดุที่ใช้แกะน้อยสุดและหายากที่สุด คืองาช้าง , เขากวางและกัลปังหาคำ ครับ


ต้นไม้มงคล

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

พระผงสมเด็จเปลวเพลิงรุ่นแรก (สมเด็จประภาณมณฑล) ปี 37











พระผงสมเด็จเปลวเพลิงนั้นสร้างพร้อมกับพระผงกลีบบัวและพระผงลีลา แต่มีจำนวนการสร้าที่น้อยกว่าโดยใช้มวลสารเดียวกับพระขุนแผนรุ่น 1 แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือแบบธรรมดาและแบบฝังตะกรุด สำหรับแบบฝังตะกรุดนั้น แบ่งออกเป็นตะกรุดเงิน ทอง เงิน และตะกั่ว และยังมีแบบพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ แบบฝังแผ่นทองลงอักขระไว้ที่ด้านหลังพระครับ ซึ่งจะพบเจอได้น้อยมาก ด้านหลังพระทุกองค์จะมีการปั้มตรายางเป็นชื่อครูบาจันต๊ะ และวัดหนองช้างคืน เป็นพระผงที่หาชมได้ยากขึ้นทุกวันครับ เมื่อก่อนไม่คอยมีใครสนใจแต่พอพระขุนแผนหายากแล้วก็กลับมาแสวงหากันยกใหญ่ซึ่งพุทธคุณนั้นไม่หนีพระขุนแผนไปชักเท่าไรหลอกครับ จำนวนการสร้างไม่เกิน 500 องค์ครับ




...ต้น ไม้มงคล....




วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

พระผงลีลารุ่นแรก




พระผงลีลาครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้นสร้าง ปี 2538 พร้อมกับพระผงกลีบบัว มวลสารนั้นเป็นมวลสารชนิดเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก มีพิมพ์เดียวเท่านั้นด้านหน้าเป็นรูปพระลีลา ด้านหลังจะปั๊มตรายางเป็นชื่อท่านครูบาและชื่อวัด แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือแบบธรรมดา และแบบฝังตะกรุด สำหรับตะกรุดที่ฝังนั้นจำแนกออกเป็นตะกรุดเงิน ตะกรุดทองแดง และตะกรุดตะกั่ว แต่ก็จะมีแบบชนิดที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ฝังเมล็ดข้าวเปลือกไว้ที่องค์พระ ซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกนี้เป็นเมล็ดข้าวเปลือกที่ได้จากข้าวเปลือกที่ใช้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญครับ
เมื่อประมาณปี 2545 ได้เป็นฮือฮาในบรรดานักเสี่ยงโชคต่าง ๆ โดยฉะเพราะนักเล่นหวยครับ(หวยใต้ดิน) เพราะได้ข่าวว่าบรรดานักแทงเลขนั้น ได้กวาดพระผงลีลาจนเกลี้ยงสนามเลยครับ อันนี้ก็เป็นเหตุผลส่วนตัวนะครับกะผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่ไม่ต้องอธิบายทุกท่านก็คงจะเดาออกนะครับ จำนวนการสร้างนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดแต่คาดว่าไม่น่าจะเกิน 1,000 องค์ และในสนามพระนั้นบอกได้เลยว่าไม่ต้องเดินหาให้เมื่อยตาตุ่มหรอกครับหาอยากแล้ว ในรายการประกวดพระภาคเหนือก็ได้บรรจุพระผงลีลาครูบาจันต๊ะ อนาวิโลในรายการประกวดพระด้วย เห็นไหมครับถ้าไม่แน่จริงไม่มีรายการลงประกวดพระหลอกนะบอกให้

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระผงกลีบบัวรุ่นแรก




พระผงกลีบบัวรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ อนาวิโล สร้าง ปี 2538 ถัดจากขุนแผนรุ่นแรก ครับ ใช้มวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก แต่จำนวนการสร้างนั้นน้อยมาก และไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสร้างกี่องค์น่าจะประมาณพันองค์เศษเท่านั้น เป็นพระผงนั่งสมาธิบนขาโต๊ะรูปโดยรวมคล้ายใบโพธ์ แต่กลับเรียกว่าพระผงกลีบบัว สร้างแค่พิมพ์เดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นแบบธรรมดาและแบบฝังตะกรุด สำหรับตะกรุดที่ฝังนั้นจำแนกออกเป็นตะกรุดเงิน ตะกรุดทองแดง และตะกรุดตะกั่ว และแบ่งสีของพระได้คือขาว ดำ เหลือง แดงครับ พระผงพิมพ์กลีบบัวครูบาจันต๊ะนั้นถือได้ว่าพิมพ์ที่พบหาได้ยากเลยพอดู เพราะว่าสร้างน้อยแต่สำหรับความนิยมนั้นจัดว่ายังเป็นรองพระผงพิมพ์ขุนช้างและขุนแผนอยู่หลายเท่าตัว แต่ถ้าองค์สวย ๆ และมีตะกรุดเงินด้วยแล้ว จะหายากมากกว่าแบบธรรมดา ส่วนมวลสารที่ใช้ทำนั้นก็เป็นมวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก เพราะฉะนั้นพุทธคุณไม่ต่างอะไรกันเลยครับ


...ต้น ไม้มงคล...

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระผงยันต์ครอบจักรวาล




นอกจากการสร้างพระขุนแผนรุ่น 2 แล้วยังมีพระผงอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งได้มีการสร้างในพิธีเดียวกัน และที่สำคัญได้ใช้มวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่น 2 ทุกประการ ซึ่งวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นนั้น ลักษณะเป็นลักษณะรูปไข่ ด้านหน้าเป็นยันต์ตัวขอมมีพระพุทธประทับในรัศมี บอกชื่อครูบาจันต๊ะ ด้านหลังเป็นยันต์ บอกชื่อวัดและปีที่ทำ โดยเรียกพระผงชุดนี้ว่า “ ผงยันต์ครอบจักรวาล ” จำนวนการสร้างนั้นน้อยกว่าขุนแผนรุ่น 2 ครับโดยสร้างทั้งหมด 4,985 องค์เท่านั้น แบ่งเป็น
1. ชนิดธรรมดา 4,483 องค์ ( ยันต์ตรง )
2. ชนิดพิเศษ 502 องค์ ( ยันต์กลับ )
ทำการปลุกเสกพร้อมขุนแผนรุ่น 2 ขอบอกท่านผู้อ่านได้เลยว่าพระผงยันต์ครอบจักรวาลนี้สร้างน้อยกว่าขุนแผนรุ่น 2 แต่มวลสารที่ใช้ทำนั้นเป็นชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม แห่งวัดระหารไร่ จังหวัดระยองครับ เพราะฉะนั้นพระผงยันต์ครอบจักรวาลนี้ หายากกว่ามากพระผงขุนแผนรุ่น 2 ครับ


...ต้น ไม้มงคล...

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่น แรกปี 35


หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่น แรกปี 35
เมื่อปี พ.ศ. 2535 นอกจากที่ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโลจะได้สร้างวัตถุมงคลเนื้อผงพิมพ์ขุนช้าง ดังที่ไก้กล่าวมาในครั้งก่อนแล้ว ท่านครูบาจันต๊ะ ยังได้ให้มีการสร้างวัตถุมงคลอีกชุดหนึ่งซึ่งสร้างพร้อมกับขุนช้างรุ่นแรก แต่พอทำการปลุกเสกเสร็จแล้ว ได้นำไปถวายให้วัดพระธาตุดอยขะม้อจังหวัดลำพูนนั้น ได้แก่ พระผงพิมพ์หลวงปู่ทวดและพระผงพิมพ์พระรอด หรือที่บรรดาลูกศิษย์เรียกทั่วไปในสนามพระว่า “หลวงปู่ทวดครูบาจันต๊ะรุ่นแรก” หรือ “หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่นแรก” ครับ หลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อรุ่นแรกนั้น สร้างปี 2535 ถวายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง แบ่งเป็นทั้งหมด 3 พิมพ์ได้แก่

1) พิมพ์ใหญ่สร้าง 1384 องค์ แบ่งเป็นแบบธรรมดา 731 องค์ และแบบทาทอง 653 องค์
2) พิมพ์กลางสร้าง 2552 องค์ แบ่งเป็นธรรมดา 1626 องค์ และทาทอง 726 องค์
3) พิมพ์เล็กสร้าง 1296 องค์ แบ่งเป็นธรรมดา 880 องค์ และทาทอง 416 องค์
นอกจากการสร้างพระผงพิมพ์หลวงปู่ทวดแล้ว ท่านยังได้มีการสร้างวัตถุมงคล เป็นพิมพ์พระรอดอีกหนึ่งพิมพ์ ซึ่งใช้เนื้อมวลสารในการทำเป็นชนิดเดียวกันกับหลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อ และพระผงพิมพ์ขุนช้าง แต่สร้างน้อยสุดและหายากพอสมควร คือการสร้างทั้งหมด 944 องค์ แบ่งเป็นธรรมดา 572 องค์ และทาทอง 372 องค์ เท่านั้น
นอกจากการสร้างพระพิมพ์หลวงปู่ทวดและพระรอดแล้ว ทีนี้เราลองมาดูมวลสารที่ใช้สร้างวัตถุมงคลชุดนี้ดูบ้างว่ามีอะไรที่สุดยอดใส่ลงไปบ้าง เริ่มต้นจากเนื้อเกสรดอกไม้แห้งบูชาของวัดต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ฯลฯ และยังมีผงตะใบหลวงปู่ทวด เนื้อทองเหลือง ผงตะใบตระกรุดครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ผงสมเด็จหลังสิวลีหลวงพ่อกวย ชัยนาท พระผงขุนช้างรุ่นแรก ครูบาจันต๊ะที่ชำรุด ผงใบสาน ผงขี้ธูป ผงยันต์เผา หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ ดินพันปีวัดประตูลี่ลำพูน น้ำทิพย์วัดดอยขะม้อ กาฝากมงคลต่าง ๆ ว่าน 180 ปูนขาว เปลือกหอยเผา น้ำมันตั้งอิ๋ว พระผงต่าง ๆ ที่ชำรุด ลูกขนุนตายพราย ฯลฯ
สำหรับพุทธคุณของพระผงพิมพ์หลวงปู่ทวดและพระรอดนั้น ยอมรับเป็นเสียงเดียวกัน ว่า เหนียวจริง ๆ ครับ เดินทางปลอดภัยค้าขายเป็นเลิศ จากคำบอกเล่าประสบการณ์จากชาวบ้านที่ได้แขวนพระพิมพ์หลวงปู่ทวดท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อประมาณปี 2540 ที่มีข่าวดังครึกโครม เกี่ยวกับโรงงานลำไยระเบิดที่ อ.สันป่าตอง ท่านผู้นี้ได้แขวนหลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อในตอนนั้น ปรากฏว่าได้มีเหตุดลใจอะไรบ้างอย่างที่พยายามทำให้ท่านผู้นี้ออกจากโรงงาน ก่อนจะเกิดเหตุ ปรากฏว่าพอออกจากโรงงานลำไยได้ชั่วโมงกว่า ๆ ก็เกิดเหตุระเบิดขึ้นเหมือนกับว่าท่านครูบาจะดลใจให้รอดพ้นอันตรายจริง ๆ ครับ สนนราคาในการเช่าหาหลวงปู่ทวดวัดดอยขะม้อนั้น อยู่ที่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น เพราะว่ามีคนรู้จักน้อย และขอบอกว่าพุทธเกินหลักหมื่นแน่นอนครับ
ต้น ไม้มงคล

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก











พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก
จากความเดิมตอนที่แล้วหลังจากได้กล่าวถึงวัตถุมงคลของท่านครูบาจันต๊ะ อนวิโลในพิมพ์พระปิดตาไปสองพิมพ์แล้วนั้น สำหรับในตอนนี้จะกล่าวถึง พระผงพิมพ์พระปิดตา อีก 2 พิมพ์ ที่ยังเหลืออยู่นั้นคือ
3. พระปิดตาพิมพ์กลาง เป็นพระเนื้อผงหลังเรียบกดพิมพ์ด้วยมือ ขนาดสูงประมาณ 3 เซนติเมตร กว้าง 2.6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือแบบชนิดที่มีการตัดขอบ และแบบชนิดที่ไม่มีการตัดขอบ ซึ่งมีลักษณะองค์พระนั้นจะคล้ายกันแต่จะมีลักษณะปีกขอพระกว้างและแคบเท่านั้นเอง สำหรับพระปิดตาพิมพ์กลางนั้นมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่และจัมโบ้อย่างเห็นได้ชัดด้านหลังพระเรียบไม่มีการลงอักขระและปั๊มตราใด ๆ ทั้งนั้น เนื้อพระบางองค์จะมีการเคลือบแล็คเกอร์เพราะว่าป้องกันการผุกร่อนของเนื้อพระ แต่ไม่มีการทาทองบรอนซ์แต่อย่างใด ซึ่งมีจำนวนการสร้างดังนี้
1) พิมพ์กลางสีเหลือง และขาวสร้าง 1,267 องค์
2) พิมพ์กลางสีดำสร้าง 21 องค์
3) พิมพ์กลางผังเม็ดพระธาตุสร้าง 9 องค์
ซึ่งในการสร้างพระปิดตาพิมพ์กลางนี้ ไม่มีการสร้างพระแบบทาทองครับ
4. พระปิดตาพิมพ์เล็ก (จิ๋ว) เป็นพระปิดตารูปสามเหลี่ยม สูงประมาณ 1.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร เท่านั้น พระปิดตาพิมพ์เล็กนั้นก็แบ่งได้ออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ปิดตาสามเหลี่ยมและปิดตาปุ้มปุ๊ยครับ ด้านหลังเรียบไม่มีการลงอักขระ หรือปั๊มตรายางใด ๆ จำนวนการสร้างก็มีดังนี้ส่วน
1) พิมพ์เล็กสีเหลืองและขาวสร้าง 1,700 องค์
2) พิมพ์เล็กสีดำสร้าง 39 องค์
3) พิมพ์เล็กผังเม็ดพระธาตุสร้าง 45 องค์
รวมทั้งหมดสร้าง 1,784 องค์ โดยถวายให้วัดหนองช้างคืนจำนวน 1,055 องค์ ที่เหลือ 729 องค์
นำไปถวายให้วัดแถบภาคกลางครับ
ปัจจุบันการหาชมพระปิดตาของครูบาจันต๊ะนั้นต้องบอกว่า หาชมได้อยากขึ้นทุกวันแล้วเหตุผลก็เพราะว่าในการสร้างถวายนั้น ได้มีการสร้างจำนวนน้อย ประกอบกับพระผงของครูบาจันต๊ะยุคต้นนั้น ไม่ได้มีการผสมปูนขาวเพื่อยึดเกาะมวลสารเลย ฉะนั้นพระผงยุคแรกนั้นจึงไม่ทนต่อความชื้น ทำให้พระเสียหายครับ จึงเป็นสาเหตุของการนำพระยุคต้นไปทาแล็กเกอร์ครับ ซึ่งพระปิดตาพิมพ์เล็กนั้นถือได้ว่าเป็นพระปิดตาที่หาได้อยากที่สุดเลยครับ บางท่านอาจคิดว่าจำนวนการสร้างนั้นมากกว่า พระปิดตาพิมพ์กลาง และทำไมจึงเป็นที่หายากว่า สาเหตุก็เพราะว่า พระปิดตาพิมพ์เล็กนี้เป็นพระที่มีขนาดเล็กมาก และนิยมนำไปให้เด็กไว้แขวนติดตัว ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการเก็บรักษาอย่างดีทำให้ตกหายบ้างหรือโดนน้ำแล้วเกิดการผุพังบ้าง และพระพิมพ์เล็กนี้เมื่อกดพิมพ์แล้วปรากฏว่าไม่ค่อยสวย บางองค์เนื้อไม่ติดเต็มองค์พระก็มี สาเหตุก็เพราะว่า เนื้อพระที่นำมากดนั้นมีความหยาบและพิมพ์ที่ใช้กดนั้น เล็กมากจึงเป็นเหตุให้ไม่เกิดการสมดุลในการกดพิมพ์ครับ ซึ่งพระที่ไม่สวยหรือกดไม่เต็มนั้น ได้ทำการคัดแยกแล้วเก็บไว้ โดยท่านครูบาได้นำพระชุดนี้ไปบด แล้วใช้ผสมกับมวลสารในการสร้างพระขุนแผนรุ่นแรกนั้นเองครับส่วนราคาในการเช่าหาก็อยู่หลักพันต้น ๆ ครับ แต่ถ้าองค์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขึ้น เช่น ฝังเม็ดพระธาตุหรือฉนวนหล่อพระธาตุ ราคาก็จะขยับตัวขึ้นไปครับ สำหรับลูกศิษย์ทั้งหลายที่หาพระพิมพ์หลัก ๆ ไม่ได้ก็ขอแนะนำให้ลองหั้นมาเก็บพระพิมพ์ลอง ๆ กันดีกว่า ราคาเบากว่าแต่พระพุทธคุณเยี่ยมพอกันครับ
พุทธคุณของพระปิดตาศิริคูณไชย์นั้น เด่น ไปเมตตามหานิยมและการค้าการขายครับ สนนราคาในการเช่าหานั้น พิมพ์ทาทองอยู่ที่ประมาณพันต้น ๆ ครับ ส่วนพิมพ์ธรรมดาอยู่ที่ประมาณหลักร้อยปลาย ๆ ถึงหลักพันต้น ๆ ครับ ของดีราคาเบาอย่างนี้มีไว้ติดตัว สบายใจ หายห่วงครับท่าน
ต้น ไม้มงคล

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์จัมโบ้ทาทองและพิมพ์ใหญ่




พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ พิมพ์จัมโบ้ทาทองและพิมพ์ใหญ่
ครูบาจันต๊ะ อนวิโล แห่งวัดหนองช้างคั้น จ.ลำพูนถือได้ว่าเป็นพระสงฆ์ผู่ที่ปฏิบัติธนรรมอย่างเคร่งครัด เป็นที่เคารพศรัทธา แก่บรรดาญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหาอย่างมาก นั้นก็เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้วัตถุมงคลของท่านเป็นที่ต้องการอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง สาเหตุอีกประการก็คือวัตถุมงคลหรือพระเครื่องของท่านนั้นส่วนใหญ่จะสร้างจากเนื้อผง ยิ่งถ้าเป็นยุคตั้งแต่ปี 2538 ลงไปแล้ว เนื้อผงของท่านไม่ได้ใส่ปูนเปลือกหอยมากเท่าที่ควร ดังนั้นเนื้อพระผงของครูบาจันต๊ะรุ่นแรก ๆ นั้น “โดนน้ำไม่ได้” เพราะจะเกิดการเปลื่อยยุ่ยของเนื้อพระ หรือบางคนไม่ทราบและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโดนน้ำไม่ได้ ดังนั้นจึงมีการนำเอาพระผงของครูบาจันต๊ะ ไปเคลือบแล็คเกอร์ไว้ใช้ติดตัว หรือบางคนก็เลี่ยมพลาสติกกันน้ำไปเลยที่มี
ที่นี้เราจะมาพูดถึงวัตถุมงคลของท่านครูบาจันต๊ะอีกอย่างหนึ่งนั้นคือพระปิดตาครูบาจันต๊ะ อนวิโล หรือ พระปิดตาศิริคูณไชย ซึ่งสร้างถวายโดย คุณเมี้ยน เปียผ่อง เมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2536 ที่วัดหนองช้างคืน เพื่อหาปัจจัย ร่วมบูรณะวัดหนองช้างคืน ซึ่งมวลสารที่ใช้ทำได้แก่ เส้นเกษาครูบาจันต๊ะ อนวิโล จีวร ก้นบุหรี่หลวงพ่อคุณปริสุทโทวัดบ้านไร่ เม็ดพระธาตุวัดดอยขะม้อ ชนวนหล่อพระโมคลาพระสาลีบุตรวัดห้วยทรายใต้เพชรบุรี อิฐโบสถ์เก่าวัดหนองช้างคืน น้ำสรงพระพุทธสิหิงค์วัดพระสิงห์เชียงใหม่ น้ำมนต์วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ กาฝากไม้มงคลนานาชนิด เนื้อดินพระสกุลลำพูน ผงเกสรดอกไม้ 108 น้ำมันตั้งอิ๋ว ฯลฯ ซึ่งในการสร้างนั้น ได้ทำการสร้างพระผงพิมพ์ปิดตาทั้งหมด 4 พิมพ์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. พิมพ์จัมโบ้ ลักษณะเป็นพระปิดตา หลังเรียบ ขอบของพระจะตัดเรียบทุกองค์ โดยมีจำนวนการสร้างดังนี้
1) พิมพ์จัมโบ้ธรรมดา สร้าง 1,567 องค์
2) พิมพ์จัมโบ้ทาทองสร้าง 628 องค์
3) จัมโบ้สีดำสร้าง 96 องค์
4 ) พิมพ์จัมโบ้ผังเม็ดพระธาตุสร้าง 4 7 องค์
รวมทั้งหมดสร้าง 2,338 องค์ ถวายให้วัด 1,489 องค์ ที่เหลือนำไปถวายวัดแถบภาคกลางอีก 849 องค์
2. พิมพ์ใหญ่ จะแลดูคล้ายกับพิมพ์จัมโบ้เล็กน้อย แต่แขนจะแลดูเรียวและเล็กกว่าเล็กน้อยแบ่งได้ดังนี้
1) พิมพ์ใหญ่ธรรมดาสร้าง 2,635 องค์
2) พิมพ์ใหญ่สีดำสร้าง 77 องค์
3) พิมพ์ใหญ่ผังเม็ดพระธาตุสร้าง 7 องค์
4) พิมพ์ใหญ่ผังขานาหล่อพระสร้าง 114 องค์
โดยพิมพ์ใหญ่นี้จะไม่มีการทาทองครับ รวมทั้งหมดสร้าง 2,833 องค์ ถวายให้วัด 2,143 องค์ ที่เหลือ
นำไปถวายให้วัดแถบภาคกลางอีก 690 องค์

ต้น ไม้มงคล

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาไม้แกะมหาลาภ ปี 37-38







ในการสร้างพระพิมพ์ต่างๆของครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระผงซะส่วนมาก แต่มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นที่ไม่ใช้พระผงแต่เป็นพระไม้แกะครับ เรียกว่าพระปิดตาไม้แกะมหาลาภ สร้างปี 37 ครับแล้วทำการอธิฐานจิต จนถึงปี 38 ครับเพราะฉะนั้น พุทธคุณเต็มเปี่ยมเลยก็ว่าได้ ส่วนประวัติการสร้างนั้น คุณเมี้ยน เปียผ่องได้นำไม้คูณ (ต้นลมแล้ง) ตายพรายมา 1 ท่อนแล้วทำการผ่าซีกให้เป็นท่อน ๆ ครับ จากนั้นได้ทำไปกลึงให้เป็นท่อนกลมๆ โดย คุณสมบัติ สมพัตร และคุณชัยเกียรติ เลียวหิรัญ (ซึ่งเป็นลูกศิษย์และผู้ช่วยคุณเมี้ยน เปียผ่องในสมัยนั้น) แล้วจึงส่งคืนให้คุณเมี้ยน เปียผ่องและเพื่อนช่วยกันแกะครับจำนวนการสร้างทั้งหมดมีจำนวน 202 องค์ครับ ลักษณะเป็นพระปิดตา ลององค์ โดยทุกองค์จะต้องมีการตอกโค๊ต เป็นรูปดอกจันและ ต.เต่าทุกองค์ บางองค์ อาจจะตอกด้านหลัง และบางองค์ก็อาจจะตอกใต้พระก็มี ชึ่งโค๊ตที่ใช้ตอกในตอนนั้น ได้ทำขึ้นโดย คุณชัยเกียรติ เลียวหิรัญ แบ่งลักษณะของโค๊ตได้อยู่ 3 ชนิด คือ ต.เต่าหางยาว ต.เต่าหางสั้น และดอกจันครึ่งเสี้ยวครับ และที่สำคัญที่สุด พระทุกองค์จะต้องมีการฝังตะกรุด เงินบริเวณใต้องค์พระทุกองค์ครับ แต่จะมีที่พิเศษต่างออกไปคือ มีการฝั่งตะกรุด 3 กษัตย์ (ทอง เงิน ทองแดง) เพียง 19 องค์เท่านั้น ซึ่งตะกรุดที่ใช้ฝังในวัตถุมงคลของครูบาจันตุ๊นั้น ได้แบ่งแยกเป็นการลงอัขระและผู้ถวายดังนี้
1.ตะกรุดทองคำ ได้ถวายโดยนายชัยเกียรติ เลียวหิรัญและได้ลงอักขระโดยครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
2.ตะกรุดเงินได้ถวายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง ลงอักขระโดยพระราชพรหมาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
3.ตะกรุดทองแดงได้ควายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง และคุณสมชาย เรืองศิลา
พระปิดตาไม้แกะครูบาจันต๊ะนั้นอย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ว่ามีการแกะโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง และเพื่อนอีก 2 คน เพราะฉะนั้นศิลปะก็จะไม่เหมือนกัน แต่ให้สังเกตที่ตะกรุดและโค๊ตที่ใช้ตอกให้ดี สำหรับเนื้อไม้นั้นมีเพียงไม้คูณเท่านั้น ไม่มีไม้ชนิดอื่นครับ แต่ก็จะมีพิเศษบ้างคืองานช้าง และ กาลาปัง หาดำ ครับผม แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าหายากสุด ๆ ครับ



....ต้น ไม้มงคล....

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เส้นนั้นสำคัญจริงหรือ











ขุนแผนครูบาจันต๊ะอนาวิโลไม่ว่าจะเป็นรุ่น 1 หรือ 2 ต่างก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า พุทธคุณเป็นเลิศจริง ๆ ก็เพระว่ามวลสารที่ใช้ทำนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นมวลสารที่เป็นมงคลทั้งนั้น โดยเฉพราะผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิมครับ ดังที่ได้นำเสนอบทความมาแล้วหลายต่อหลายตอน แต่ในปัจจุบันอาจเป็นเพราะความนิยมในวัตถุมงคลของท่านครูบานั้นมีความต้องการมาก ประกอบกับของๆ ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้น สร้างน้อยจริง ๆ ครับ มันก็เลยเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า " ของเก๊ระบาด " ก็ของมันขายได้นี่ครับ ใครบ้างไม่อยากได้เงิน ระหว่างกลับบาบกรรม กับกลัวไม่ได้เงิน คงเลือกอย่างหลังมากกว่า แต่เราก็ไม่ว่ากันครับ ถ้าพวกมารทำของเก๊ออกมา เราก็จะเสนอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาตลอดไป




มีคนตั้งคำถามขึ้นมากมายว่าทำไมพระเกจิทางภาคเหนือ ไม่มีความนิยมรุนแรงเหมือนกับเกจิทางภาคกลาง ยกตัวอย่างเช่น เหรียญหลวงพ่อพรหมปี 17 กับเหรียญหลวงปู่แหวนปี 17 ราคาต่างกันราวฟ้ากับดินเลยครับ ทั้งนี้เป็นอาจเพราะว่า คนทางภาคกลางรู้จักเกจิอาจารย์ที่ดังมาก ๆ ไม่เกินจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบกับเกจิอาจารญ์ทางภาคเหนือไม่ค่อยจะเปิดเผยตัวสักเท่าไร ประสบการณ์ของวัตถุมงคลก็เลยรู้กันในวงแคบ เลยทำให้คนแถบภาคกลางไม่ค่อยจะรู้จักเกจิอาจารย์แถบภาคเหนือเลย แต่เมื่อวิวัฒนาการณ์ของโลกอินเทอร์เน็ตกว้างไกล ผูคนทุกภาคทั่วประเทศต่างก็ศึกษาหาข้อมูลของเกจิอาจารย์ของแต่ละภูมิภาคอย่างง่ายดาย การสืบค้นประวัติก็ทำกันง่ายขึ้น ทำให้วัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ภาคเนือเริ่มมีราคาที่กระดิกขึ้นแล้ว แต่ได้มิวายโดนพวกมารทำของเก๊มาป่วนตลอดเวลา
เอาละครับทีนี้มาดูกันว่าพระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 2 ที่กำลังมาแรง ณ ในขณะนี้ว่า หลักการพิจราณาแบบง่าย ๆ ทำกันอย่างไร จากรูปที่นำมาพิจารณานี้ เป็นรูปของพระขุนแผนรุ่น 2 ครับ มีทั้งหมด 3องค์ องค์สีดำเป็นพระเก๊ ให้ดูที่หน้าตาขององค์พระ จะดูตื้นมากเพราะเป็นพระที่ถอดพิมพ์มาครับ อย่างที่สอง ให้ดูที่พลอยใช้ฝังตัวพระของแท้จะฝังลึกมาก ส่วนของเก๊ดูคล้ายกับว่านำมาโปรย ๆ แค่ให้ติดครับ ส่วนอย่างที่สามให้พิจราณาดูขอบของพระด้านขวาครับ ทุกองค์จะต้องมีรอยเส้นของการ ยกออกจากแม่พิมพ์ เพราะว่าในการสร้างพระขุนแผนรุ่น 2 นั้น มีแม่พิมพ์ในการกดพระทั้งหมดอยู่ 3 ชิ้น คือแม่พิมพ์ชิ้นด้านหน้าพระ แม่พิมพ์ชิ้นด้านหลังพระ และแม่พิม์ชิ้นกลางพระ สำหรับแม่พิมพ์ชิ้นกลางพระนั้น ได้สร้างขึ้นเป็นรูปห้าเหลี่ยมเพื่อให้พระขุนแผนรุ่น 2 มีความสวยงามขึ้น จึงเป็นที่มาของการปรากฎรอยเส้นถอดพิมพ์ครับ



.....ต้น ไม้มงคล .....

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระสังกัจจายครูบาจันต๊ะ อนาวิโลรุ่น 1




พระสังกัจจาย ครูบาจันต๊ะ
นอกจากพระเครื่องพิมพ์ขุนแผนแล้วท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโลยังได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลเป็นเนื้อผงอีกหลายต่อหลายพิมพ์แต่ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ได้แก่พระเครื่องพิมพ์พระสังกัจจาย พระผงพิมพ์สังกัจจาย สร้างขึ้นและถวายให้กับครูบาจันต๊ะ อนาวิโล เมื่อวัที่ 10 ตุลาคม 2537 ขึ้น3ค่ำเดือน11ปีจอ โดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อร่วมทำบุญในการสร้างอุโบสถ วัดหนองช้างคืนครับ ซึ่งถ้าพูดไปแล้วก็คือว่าสร้างพร้อมกับพระขุนแผนรุ่น1นั้นเอง หากจะกล่าวถึงมวลสารที่ใช้ทำนั้นดีเยื่ยมทุกรายการครับ พอจะยกตัวอย่างก็คือ น้ำทิพย์วัดดอยขม้อ น้ำมนต์วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ น้ำมนต์รูปเสก หลวงพ่อคูณปริสุทโธ วัดบ้านไร่ แบ่งเสกหลวงพ่อจุ้ยเพชรบุรีผง ไม้ไผ่แดงครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ผงดอกไม้แห้งนานาชนิด กาฝากรัก กาฝากขนุน ผงสมเด็จหลวงพ่อแดง วัดเทพไดชิฐ ปูนขาว น้ำมันตั๊งอิ้ว ฯลฯ ซึ่งมวลสารที่ใช้ทำนั้นยังมีอีกมากมายที่กล่าวไม่หมด เป็นยังไงบ้างครับแค่ฟังมวลสารที่ใช้ทำพระสังกัจจายแล้ว ถึงกับตะลึงเลยครับบางครั้งต้องยอมรับว่าการสร้างพระเครื่องในปัจจุบันมวลสารยังเทียบกับการทำสมัยก่อนไม่ได้เลยครับ
ซึ่งในการสร้างพระสังกัจจายนั้น มีพิมพ์เดียว แบ่งเป็นสีเหลืองและอมน้ำตาล 1,335 องค์ สีแดง133 องค์ สีดำ 75 องค์ สีขาว 154 องค์ สีเขียวทหาร 112 องค์ ทั้งที่มีการสร้างแบบทาทองอีก 41 องค์ซึ่งแบบทาทองที่ด้านหลังจะไม่มีการปั้มตรายางและมีการจานเฉพาะตัวครับ รวมจำนวนในการสร้างพระผงพิพ์พระสังกัจจายทั้งหมดมีแค่ 1,850 องค์เท่านั้น เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่าสร้างน้อยกว่าพระขุนแผนเกือบสี่เท่าครับ
พุทธคุณของพระสังกัจจายครูบาจันต๊ะนั้นเด่นไปทางโชคลาภค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่างๆครับ เมตตามหานิยมก็มี แต่ส่วนมากผู้ที่ได้ใช้บูชาพระสังกัจจายครูบาจันต๊ะนั้น พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการเงินการทองคล่องตัวครับสำหรับราคาในการเช่าหาพระผงพิมพ์สังกัจจายพระครูจันต๊ะ นั้น อยู่ที่หลักพันต้นๆครับ เพราะว่าความนิยมยังสู้ขุนแผนและขุนช้างไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะว่าหายากกว่าพระพิมพ์หลักๆ จึงไม่มีการนิยมหากันแต่ผู้เขียนขอบอกว่าพุทธคุณนั้นเหมือนกับขุนช้างขุนแผนรวมกันเลยครับ



.....ต้น ไม้มงคล...

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระขุนแผนชัยมงคล ( ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 2 )




พระขุนแผนชัยมงคล (ขุนแผนรุ่น 2)
หลังจากที่ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ได้สร้างพระผงพิมพ์ขุนแผน ในปี 2537 นั้นปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านต่างเป็นที่ยอมรับและแสวงหากันมาก จนของเริ่มจะหายากขึ้น จากนั้นได้มีการสร้างพระผงพิมพ์ขุนแผนอีกครั้งในปี 2544 ชื่อว่า “ พระขุนแผนชัยมงคล ” หรือ “ ขุนแผนครูบาจันต๊ะ อนาวิโล รุ่น 2”
ซึ่งลักษณะการสร้างนั้นมีแค่พิมพ์เดียวเท่านั้น เป็นพิมพ์พระพุทธนั่งประทับมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว ดูพิมพ์แล้วคล้ายกับพระขุนแผนพิมพ์แขนอ่อนของอยุธยาครับ ด้านหลังพระเป็นรูปกงจักรเพชร บอกชื่อวัดและปีที่สร้าง แบ่งแยกออกเป็น 2 สีหลัก คือ เหลืองอมส้มและสีดำเท่านั้น และยังพบว่าได้มีการสร้างพระสองสีคู่อีกด้วย โดยการสร้างที่ 2 สีนี้ยังแบ่งออกเป็นแบบธรรมดาและผังตะกรุดอีกด้วย การสร้างทั้งหมดจำนวน 14,949 องค์ แบ่งออกดังนี้
1. เนื้อขาวอมน้ำตาลส้ม 14,804 องค์
2. เนื้อสีดำ 99 องค์
3. เนื้อขาวอมส้มตะกรุดทองคำโรยผงทอง 19 องค์
4. เนื้อขาวอมส้มตะกรุงเงิน 1 ดอก 49 องค์
5. เนื้อขาวอมส้มตะกรุดเงิน 3 ดอก หลังแบน 9 องค์
6. สีดำตะกรุดเงิน 1 ดอก 5 องค์
7. สีดำตะกรุดคู่ เงิน,ทอง 3 องค์
8. เนื้อสองสีตะกรุดคู่ เงิน,ทอง 15 องค์
9. เนื้อสองสีตะกรุดเงิน 1 ดอก 5 องค์
รวม 14,949 องค์
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงมวลสารในการสร้างนั้นบอกได้เลยว่าสุดยอดครับ และพอที่จะบรรยายมวนสารหลัก ๆ ได้ดังนี้ เศษพระผงญาวิลาศหลวงพ่อแดงวัดเขาบันใดอิฐ ผงตะใบหลวงพ่อแดงวัดเขาบันใดอิฐ เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 กาฝากขนุน กาฝากมะรุม กาฝากชมพู่ ผงหลวงพ่อทองคำวัดท่าทองอุตรดิตถ์ ผงเผาในลาน(ธรรมเก่า)วัดหนองช้างคืน ผงหลวงพ่อเกษมลำปาง ผงวัดห้วยทรายใต้เพชรบุรี อิฐกระเบื้องเก่าวัดหนองช้างคืน น้ำมนต์หลวงพ่อเกษมสุสานไตรลักษณ์ลำปาง น้ำมนต์วัดหนองช้างคืน ปูนเปลือกหอย ว่านกาหลงกาฝากพุทรา พลอยพระธาตุศรีจอมทอง เกศาครูบาจันต๊ะ ชานหมากพ่อแก่ แร่ร่องระกำเพชรบุรี กาฝากลูกหว่า กาฝากน้อยหนา นอกจากนี้ยังได้มีวัตถุมงคลที่พูดได้ว่าสุดยอดอีกประการหนึ่งนั้นคือ ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมวัดระหารไร่ จ.ระยองอีก 1 ถ้วย ลูกอมผงพรายกุมารอีก 1 ลูก ซึ่งผงพรายกุมารได้มาจาก พระอาจารย์วัดป่างิ้ว อ.สารภี ซึ่งท่านได้มาจากลูกศิษย์หลวงปู่ทิม นอกจากนี้แล้ว ขุนแผนรุ่น 2 เฉพาะเนื้อสีดำเท่านั้นได้ใส่เกศาครูบาวัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่ อีกด้วย ซึ่งครูบาจันต๊ะได้อธิฐานจิต ณ วัดหนองช้างคืน วันที่ 1 ถึง 25 กรกฏาคม 2544 ครับ
ต้น ไม้มงคล

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552




ขุนแผนครูบาจันต๊ะเนื้อเคลือบรุ่นแร
- จุดตำหนิ เหมือนกับพระพิมพ์เกศสั้นทุกประการ แต่องค์พระจะแลดูหดลงเล็กกว่าเนื้อผงเล็กน้อย


1. บริเวณด้านหลังของพระเนื้อเคลือบทุกองค์จะปรากฏรอยตะใบเป็นแนวเฉียง
2. จารอักขระลายมือครูบาจันต๊ะ
3. จารอักขระลายมือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโท
……..ต้น ไม้มงคล........

ขุนแผนเคลือบ ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล




พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1
เนื้อเคลือบ
ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1เนื้อเคลือบ จากการได้นำเสนอข้อมูลพระขุนแผน รุ่นแรกของพระครูบาจันต๊ะ อนาวิโลทั้งหมดแล้ว ยังมีขุนแผนรุ่นแรก อีกพิมพ์หนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นสุดยอดของขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกเลยก็ว่าได้ นั่นคือขุนแผนเคลือบครูบาจันต๊ะ อนาวิโล โดยพระขุนแผนเคลือบอนาวิโลนั้น ได้สร้างขึ้นพร้อมกับขุนแผนรุ่นแรกปี 2537 โดยคุณสมชาย เรื่องศิลา เป็นผู้สร้างถวาย แก่ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ซึ่งมวลสารที่ใช้เป็นชนิดเดียวกันกับพระขุนแผนเนื้อธรรมดานั้นเอง แต่จะมีการผสมมวลสารให้แตกต่างเพิ่มขึ้นบางตัว ซึ่งเป็นความลับ และไม่มีข้อมูลแน่ชัดซึ่งสารตัวนี้มีคุณสมบัติ ทำให้พระขุนแผนหดตัวเล็กลงเล็กเมื่อกดพิมพ์ออกมา แล้วพระจะมีความแข็งมาก จนกระทั่งว่าตกยังไม่แตกเลยครับ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ใช้สารเคมีเคลือบเนื้อพระแค่บริเวณด้านหน้าครับไม่เคลือบหลังพระ หรือบางครั้งอาจจะแลอะไปบริเวณด้านหลังบ้าง แต่ก็เล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสารเคมีตัวนี้คุณสมชาย ได้สั่งซื้อตรงมาจากต่างประเทศ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเป็นสารอะไร เสร็จแล้วด้านหลังพระจะมีรอยการตกแต่งด้วยตะใบหรือกระดาษทรายเกือบทุกองค์ แล้วจะทำการลงอักขระใว้สองแถว เป็นยันต์ของครูบาเองและเป็นอักษรขอมเขียนว่า " นะโมพุทธายะ "ครับ ถ้ามีจารอักขระแถวเดียว ให้สัณนิษฐานว่าไม่ใช่เด็ดขาด บริเวณหลังพระเคลือบนั้นไม่ปรากฏการปั้มตรายางแต่อย่างใดเพราะว่าในการสร้างเพื่อเคลือบนั้นเนื้อพระไม่ทำการดูดหมึก ฉะนั้นจึงปั้มไม่ติดครับ
แต่ครูบาจันต๊ะก็ได้ใช้ตรายางปั้มผ้าดิบแล้วตัดแจกพร้อมกับพระขุนแผนเนื้อเคลือบครับ ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าถ้าได้เนื้อเคลือบมา ต้องได้ผ้าดิบปั้มยันต์ครับ
จำนวนการสร้างทั้งหมดแค่ 198 องค์เท่านั้นแบ่งเป็น 2 สีครับ ได้แก่ สี เหลืองอมน้ำตาล สร้างทั้งหมด159 องค์ และสีดำ สร้างทั้งหมด 59 องค์ครับ พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1 นั้น เมื่อสร้างเสร็จได้ทำการทำลายแม่พิมพ์ทั้งม่พิมพ์ เหลืองอมน้ำตาลองค์และสีดำองค์ครับพระชุดคณุบาขุนแผนจันต๊ะ ซึ่งสารเคมีตัวนี้คุณสมชายไปสั่งตรงมาจากต่างประเหมด ไม่มีการเก็บแม่พิมพ์พระไว้หรือทำการสร้างใหม่ออกมาเสริมแต่อย่างใด พุทธคุณของขุนแผนเนื้อเคลือบก็จะคล้าย เหมือนกับขุนแผนเนื้อธรรมดาของครูบาจันต๊ะ แต่จะหาเสาะหาได้ยากกว่าขุนแผนเนื้อธรรมดา เป็นทวีคูณเลยครับ ในการเช่าหาพระขุนแผนเคลือบนั้นฟังแล้วจะตกใจ สำหรับสีเหลืองจะอยู่หลักฟังปลายๆ ถึงหมื่นต้นๆแต่สำหรับสีดำนั้นทะลุหลักหมื่นไปแล้วครับ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เพิ่มเติมภาพขุนแผนครูบาจันต๊ะ รุ่น ๑ ทาทอง











ภาพพระขุนแผนรุ่น ๑ ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล แบบทาทอง ด้านหน้า และหลัง ครับ



พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1
พิมพ์ทาทอง (กรรมการ)
พระขุนแผนรุ่น 1พิมพ์ทาทอง (กรรมการ) ก่อนอื่นต้องขอบอกกับผู้อ่านก่อนว่า พระขุนแผนพิมพ์นี้ไม่ได้ให้ถูกเรียกว่าพระกรรมการแต่อย่างใด เพราะว่าในการสร้างครั้งแรกนั้น ผู้สร้างได้สร้างให้มีสีสันแตกต่างไปจากพิมพ์ธรรมดาเท่านั้นเอง แต่เนื่องจากการสร้างนั้นดูแล้วไม่ธรรมดาจริง ๆ และจำนวนการสร้างนั้นก็น้อยมาก บรรดานักสะสมต่างจึงเรียกพระขุนแผนพิมพ์นี้ว่าพิมพ์กรรมการครับ พระขุนแผนรุ่น 1 พิมพ์ทาทอง (กรรมการ) สร้างขึ้นปี 2537 พร้อมกับพระขุนแผน เนื้อผงธรรมดาหลังปั้มตรายาง ซึ่งพิมพ์ที่ใช้ทำพระขุนแผนทาทองนั้นมีเพียงพิมพ์เกศสั้นพิมพ์เดียวเท่านั้น และด้านหลังของพระจะไม่ปั้มตรายางของวัด แต่จะมีการลงอักขระตัวขอมเป็นตัว “มะอะอุ”อย่างเดียวเท่านั้น การสืบประวัติและหาข้อมูลมา พระพิมพ์นี้ จะไม่มีการลงอักขระเป็นตัวอื่น โดยพระขุนแผนทาทองที่จำนวนสร้างทั้งหมด 394 องค์เท่านั้น สร้างถวายโดยคุณเมี้ยน เมียผ่อง ว่ากันว่าคุณแผนทาทองนั้น ได้ทำการปลูกเสกโดยหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ด้วย แต่เนื่องจากพระมีจำนวนน้อยเกินไปหลวงพ่อคูณจึงให้เอากลับมายังวัดหนองช้างคืน เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ ของท่านครูบาจันต๊ะครับ นอกจากนี้แล้ว ด้านหลังของขุนแผนทาทอง ที่เป็นตัวอักขระขอมนั้นสัญนิฐานกันว่า อักขระ มะอะอุ นั้นอาจเป็นการจารของหลวงพ่อคูณก็เป็นไปได้ เพราะว่า ท่านครูบาจันต๊ะจะลงอักขระเฉพาะตัวยันต์ของท่านซึ่ง
เป็นตัวเมืองล้านนาเท่านั้น และท่านครูบาจันต๊ะเขียนตัวหนังสือขอมไม่ถนัดครับ แต่ก็
ไม่มีหลักฐานและการยืนยันที่แน่ชัดว่าเป็นการลงอักขระโดยหลวงพ่อคูณหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ พระขุนแผนรุ่นแรกทาทองที่ เป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์ของหายากมากเลยครับเพราะถ้าสร้างแค่ 3 ร้อยกว่าองค์เท่านั้น
ด้านพุทธคุณของพระขุนแผนครูบาจันต๊ะพิมพ์ทาทองนั้นก็เหมือนกับพระพิมพ์ธรรมดา ที่หลังปั้มตรายางครับ แต่เนื่องจากการสัญนิษฐานว่าหลวงพ่อคูณได้ปลุกเสกด้วย จึงมีการเข้าใจว่าจะดีและเด่นเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณครับ จึงเป็นที่ต้องการของเหล่าข้าราชการต่างๆ เพราะว่าอภิมหาบารมีอำนาจของชื่อคูณกับทองนั้นเอง
การเช่าหาพระขุนแผนรุ่นแรกทาทองนั้นต้องระวังให้ดีเพราะว่าของนั้นหายากมากครับ จึงมีการใช้พระแท้มาทาทองให้เหมือนพระทาทองกรรมการซึ่งถ้าพิจารณาดูให้ดีแล้ว ด้านหลังพระจะปั้มตรายางแต่ไม่มีการจารมะอะอุ ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณเอาเองครับ และต้องขอบอกไว้อีกอย่างหนึ่งว่าพระขุนแผนรุ่นแรกทาทองนั้นจะมีแต่พิมพ์เกศสั้นเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น ส่วนการดูลายมือที่จารด้านหลังนั้นต้องขอบอกว่ายากครับ เพราะว่าลายมือที่จารนั้น บางองค์ก็ชัด และบางองค์ก็ไม่ชัดบ้าง ฉะนั้นการูที่อักรขะระการจารเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นของแท้หรือเก๊ครับ ส่วนราคาการเช่าหาพระขุนแผนทาทองรุ่นแรกนั้น อยู่ที่หลักพันปลายๆถึงหมื่นต้นๆ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของทองที่ทาขององค์พระครับ ใครมีของดีอยู่กับตัวมั่นใจได้เลยว่าสุดยอดครับ เมื่อต้นปี 52 นี้ได้มีการเช่าซื้อพระขุนแผนพิมพ์ทาทอง ในตลาดพระทิพย์เนตรโดยนักธุรกิจ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย องค์หมื่นกว่าแล้วครับ
...ต้น ไม้มงคล…..

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำหนิพิมพ์พระขุนแผน พิมพ์หูติ่ง


ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกพิมพ์หูติ่ง
1. มีเส้นบล็อกแตกและเนื้อเกินที่ยอดเกศ
2. ใบหูขวาหนากว่าหูซ้าย
3. มีเนื้อเกินที่ปลายหูด้านขวาจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์หูติ่ง
4. สังฆาฏิที่หน้าอกมีเนื้อนูน
5. ยอดซุ้มด้านบนสุดจะกดพิมพ์ไม่ชัด
6. พระกรรณเล็กเรียวสวยและลึกมาก
7. มีเม็ดเกินบริเวณขอบซ้ายของพระ
8. มีเนื้อเกินบริเวณท่อนแขน
9. เส้นบล็อกแตกใต้ขาที่ขัดสมาธิ

......ต้น ไม้มงคล.......

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ พิมพ์หูติ่ง




พระขุนแผนครุบาจันต๊ะรุ่น 1 พิมพ์หูติ่ง
พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ รุ่น 1 พิมพ์หูติ่ง
เป็นทรงประทับนั่งมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้วรูปทรงพระเครื่องเป็นทรงห้าเหลี่ยม แขนเรียวสวยงามพิมพ์ตื้นเล็กน้อยบริเวณที่ใบหูด้านขวาขององค์พระมีเส้นแตกคล้ายติ่งหูจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดเพราะว่าพิมพ์ทรงของพระขุนแผนพิมพ์นี้คล้ายกับพิมพ์ขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่ของสุพรรณบุรี ทั้งขนาดและรูปทรงพิมพ์ด้วย และสมจริงที่สุด ที่สำคัญเป็นพิมพ์ที่สร้างน้อยที่สุดครับสร้างทั้งหมดทั้งหมด 1,134 องค์ แบ่งเป็น สีเหลืองและอมน้ำตาล 798 องค์ สีขาว 148 องค์ สีดำ 49 องค์ สีเขียวทหาร193 องค์ครับ
ซึ่งพุทธคุณของคุณแผนรุ่นแรกนั้น หลายต่อหลายท่านได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องเมตตามหานิยมและเรื่องเหนียวครับ แต่ก็มีดีในเรื่องการค้าขายเช่นกัน ซึ่งพระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกนี้ก็ยังเป็นที่ต้องการของบรรดานักเสี่ยงโชคต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะนังเลงไก่ชนครับ

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำหนิพิมพ์ พระขุนแผน พิมพ์ขอบตก


ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกพิมพ์ขอบตก
1. จะมีเนื้อเกินบริเวณสันขอบเป็นรูปตัวหนอนจึงเรียกว่าพิมพ์ขอบตก
2. ร่องกนกลึกเป็นรู
3. พระเมาลีนูนชัดเจนเป็นสองชั้น
4. เนื้อเกินที่พระกรรณด้านขวาขององค์พระ
5. ร่องรักแร้ลึก
6. แขนทิ้งดิ่งสวยงานคมชัดและลึก
7. มีเส้นพิมพ์แตกที่แขนยาวมาจนถึงขา
8. เนื้อเกินเป็นจุดอยู่ใกล้กนกซุ้ม


......ต้น ไม้มงคล......

พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ พิมพ์ขอบตก


พระขุนแผนครุบาจันต๊ะรุ่น 1
พิมพ์ขอบตก
ต้องขอขอบพระคุณผู้อ่านและผู้ติดตามทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนและให้กำลังใจโดยตลอดมา หลังจากที่ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องครูบาจันต๊ะไปแล้วหลายต่อหลายตอนปรากฏว่าได้มีผู้ที่สนใจในเรื่องของท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล อย่างล้นหลาม บางท่านก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติม บางท่านก็ติตำหนิ ในข้อมูลบางเรื่อง ก็ต้องขอขอบ พระคุณอย่างยิ่ง และต้องอธิบายก่อนว่าข้อมูลในเรื่องของครูบาจันต๊ะ นั้นหายากจริงๆ ครับ อาจเป็นเพราะวัตถุมงคลสร้างน้อยมาก คนรู้เรื่องราวจริง ๆ ก็น้อย ประกอบกับท่านครูบาก็ได้มรณภาพแล้ว จึงได้ข้อมูลมาหลายๆที่ แล้วมารวบรวมกันครับ ผิดพลาดอย่างไรก็ต้องขออภัยไว้ก่อน เอาหละที่นี้ขอย้อนกับไปพูดถึงเรื่องพระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกปี 2537 ต่อจากตอนที่แล้วซึ่งยังเหลื่อพระขุนแผนที่จะกล่าวถึงอีก 2 พิมพ์ครับ
พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ รุ่น 1 พิมพ์ขอบตก (ขอบเกิน) เป็นทรงประทั้งนั่งมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว รูปทรง พระเครื่องเป็นทรงเครื่อง เป็นทรงห้าเหลี่ยม มีเกศยาว พระจะกว้างกว่า 2 พิมพ์ที่กล่าวมาเล็กน้อย ลำแขนเรียวสวยงาม ที่บริเวณขอบด้านบนของพระจะมีเนื้อเกินเป็นรูปลักษณะคล้ายตัวหนอน อยู่ที่บริเวณสันขอบ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพิมพ์พระพิมพ์นี้
ด้านหลังจะปั้มตรายาง และลงอักขระเป็นยันต์ของท่านโดยเฉพาะจำนวนการสร้างทั้งหมด 1,335 องค์ แบ่งเป็นสีแดง 106 องค์ สีเหลืองและอมน้ำตาล 990 องค์ สีขาว 108 องค์ สีดำ 31 องค์ สีเขียวทหาร100 องค์ครับ