วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำหนิพิมพ์พระขุนแผน พิมพ์หูติ่ง


ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกพิมพ์หูติ่ง
1. มีเส้นบล็อกแตกและเนื้อเกินที่ยอดเกศ
2. ใบหูขวาหนากว่าหูซ้าย
3. มีเนื้อเกินที่ปลายหูด้านขวาจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์หูติ่ง
4. สังฆาฏิที่หน้าอกมีเนื้อนูน
5. ยอดซุ้มด้านบนสุดจะกดพิมพ์ไม่ชัด
6. พระกรรณเล็กเรียวสวยและลึกมาก
7. มีเม็ดเกินบริเวณขอบซ้ายของพระ
8. มีเนื้อเกินบริเวณท่อนแขน
9. เส้นบล็อกแตกใต้ขาที่ขัดสมาธิ

......ต้น ไม้มงคล.......

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ พิมพ์หูติ่ง




พระขุนแผนครุบาจันต๊ะรุ่น 1 พิมพ์หูติ่ง
พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ รุ่น 1 พิมพ์หูติ่ง
เป็นทรงประทับนั่งมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้วรูปทรงพระเครื่องเป็นทรงห้าเหลี่ยม แขนเรียวสวยงามพิมพ์ตื้นเล็กน้อยบริเวณที่ใบหูด้านขวาขององค์พระมีเส้นแตกคล้ายติ่งหูจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดเพราะว่าพิมพ์ทรงของพระขุนแผนพิมพ์นี้คล้ายกับพิมพ์ขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่ของสุพรรณบุรี ทั้งขนาดและรูปทรงพิมพ์ด้วย และสมจริงที่สุด ที่สำคัญเป็นพิมพ์ที่สร้างน้อยที่สุดครับสร้างทั้งหมดทั้งหมด 1,134 องค์ แบ่งเป็น สีเหลืองและอมน้ำตาล 798 องค์ สีขาว 148 องค์ สีดำ 49 องค์ สีเขียวทหาร193 องค์ครับ
ซึ่งพุทธคุณของคุณแผนรุ่นแรกนั้น หลายต่อหลายท่านได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องเมตตามหานิยมและเรื่องเหนียวครับ แต่ก็มีดีในเรื่องการค้าขายเช่นกัน ซึ่งพระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกนี้ก็ยังเป็นที่ต้องการของบรรดานักเสี่ยงโชคต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะนังเลงไก่ชนครับ

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำหนิพิมพ์ พระขุนแผน พิมพ์ขอบตก


ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกพิมพ์ขอบตก
1. จะมีเนื้อเกินบริเวณสันขอบเป็นรูปตัวหนอนจึงเรียกว่าพิมพ์ขอบตก
2. ร่องกนกลึกเป็นรู
3. พระเมาลีนูนชัดเจนเป็นสองชั้น
4. เนื้อเกินที่พระกรรณด้านขวาขององค์พระ
5. ร่องรักแร้ลึก
6. แขนทิ้งดิ่งสวยงานคมชัดและลึก
7. มีเส้นพิมพ์แตกที่แขนยาวมาจนถึงขา
8. เนื้อเกินเป็นจุดอยู่ใกล้กนกซุ้ม


......ต้น ไม้มงคล......

พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ พิมพ์ขอบตก


พระขุนแผนครุบาจันต๊ะรุ่น 1
พิมพ์ขอบตก
ต้องขอขอบพระคุณผู้อ่านและผู้ติดตามทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนและให้กำลังใจโดยตลอดมา หลังจากที่ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องครูบาจันต๊ะไปแล้วหลายต่อหลายตอนปรากฏว่าได้มีผู้ที่สนใจในเรื่องของท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล อย่างล้นหลาม บางท่านก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติม บางท่านก็ติตำหนิ ในข้อมูลบางเรื่อง ก็ต้องขอขอบ พระคุณอย่างยิ่ง และต้องอธิบายก่อนว่าข้อมูลในเรื่องของครูบาจันต๊ะ นั้นหายากจริงๆ ครับ อาจเป็นเพราะวัตถุมงคลสร้างน้อยมาก คนรู้เรื่องราวจริง ๆ ก็น้อย ประกอบกับท่านครูบาก็ได้มรณภาพแล้ว จึงได้ข้อมูลมาหลายๆที่ แล้วมารวบรวมกันครับ ผิดพลาดอย่างไรก็ต้องขออภัยไว้ก่อน เอาหละที่นี้ขอย้อนกับไปพูดถึงเรื่องพระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกปี 2537 ต่อจากตอนที่แล้วซึ่งยังเหลื่อพระขุนแผนที่จะกล่าวถึงอีก 2 พิมพ์ครับ
พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ รุ่น 1 พิมพ์ขอบตก (ขอบเกิน) เป็นทรงประทั้งนั่งมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว รูปทรง พระเครื่องเป็นทรงเครื่อง เป็นทรงห้าเหลี่ยม มีเกศยาว พระจะกว้างกว่า 2 พิมพ์ที่กล่าวมาเล็กน้อย ลำแขนเรียวสวยงาม ที่บริเวณขอบด้านบนของพระจะมีเนื้อเกินเป็นรูปลักษณะคล้ายตัวหนอน อยู่ที่บริเวณสันขอบ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพิมพ์พระพิมพ์นี้
ด้านหลังจะปั้มตรายาง และลงอักขระเป็นยันต์ของท่านโดยเฉพาะจำนวนการสร้างทั้งหมด 1,335 องค์ แบ่งเป็นสีแดง 106 องค์ สีเหลืองและอมน้ำตาล 990 องค์ สีขาว 108 องค์ สีดำ 31 องค์ สีเขียวทหาร100 องค์ครับ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำหนิพิมพ์ พระขุนแผน พิมพ์ตาโปน


ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกพิมพ์ตาโปน
1. พระเมาลีมีสามชั้น
2. มีเนื้อเกินที่พระภักษ์คล้ายลูกตา จึงเรียกว่าพิมพ์ตาโปน
3. สังฆาฏิด้านขวามีความหนาไม่สม่ำเสมอกัน
4. ปลายแขนเรียวยาวและคมจรดแขนด้านขวา
5. พระกรรณด้านซ้ายอยู่ต่ำกว่าด้านขวา และทิ้งดิ่งติดกับหัวไหล่
6. ร่องกนกบุ๋มลึกลงไปชัดเจน
7. มีเนื้อเกิน
8. ร่องรักแร้ลึกและคม
9. สังฆาฏิด้านซ้ายทอดยาวสวยงามสม่ำเสมอกันและคม

พระขุนแผนครูบาจันต๊ะ พิมพ์ตาโปน




พระขุนแผนครุบาจันต๊ะรุ่น 1
พิมพ์ตาโปน
พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1 พิมพ์ตาโปน (เกศยาว) เป็นทรงประทับนั่งมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว รูปทรงพระเครื่องเป็นทรงห้าเหลี่ยม มีเกศยาว แหลมเรียว ลักษณะดวงตาโปนโตเห็นได้ชัดจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์นี้ ลำตัวผอมสวยบาง แขนเรียวเล็ก บริเวณด้านหลังปั้มตรายางชื่อของวัด แล้วทำการลงอักขระเป็นยันต์ประจำตัวของท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล จำนวนการสร้างทั้งหมด 1,674 องค์ แบ่งเป็นสีแดงและอมน้ำตาล 128 องค์ เหลือง 1,135 องค์ ขาว 212 องค์ ดำ 60 องค์ เขียวทหาร 130 องค์ครับ

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำหนิพิมพ์ พระขุนแผน พิมพ์เกศสั้น


ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่นแรกพิมพ์เกศสั้น

1. ขอบซุ้มจะปรากฏเนื้อเกินชัดเจน
2. มีเส้นแตกที่สังฆาฏิ
3. ปรากฏเส้นบล็อกแตกคล้ายตัวหนอนในร่องซุ้มข้างแขน
4. เนื้อเกินบริเวณหน้าตัก
5. ยอดซุ้มด้านบนสุดและด้านซ้ายมือองค์พระจะลึกกว่าด้านขวาเล็กน้อย
6. พระกรรณเล็กเรียวและแนบติดเสมอท่อนแขน
7. มีเม็ดเกินบริเวณขอบซ้ายของพระ
8. เส้นแตกแนวยาวลากผ่านขาไปถึงแขน

พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1 เกศสั้น




พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1
พิมพ์เกศสั้น
พระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 1 พิมพ์เศษสั้น นับว่าเป็นพิมพ์ที่สวยงามและนิยมอีกพิมพ์หนึ่งก็ว่าได้ครับ เป็นทรงประทับมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว รูปทรงพระเครื่องเป็นทรงห้าเหลี่ยมบริเวณยอดเกศจะป้อมและสั้น ยอดซุ้มจะมีตามลึกมากต่อเห็นได้ชัด บริเวณลำตัวอ้วนสั้น ล่ำ ดูเป็นพิมพ์ที่มีความสวยงาม พระหนา บริเวณหลังจะปั้มตรายางของวัด แล้วลงอักษรเส้นยันต์เฉพาะตัวของท่านครูบาจันต๊ะ โดยฉะเพราะครับ ซึ่งบางองค์ก็พบว่ารอยจารนั้นลึก บางองค์ก็ตื้น และบางองค์ไม่พบรอยจารก็มี จำนวนการสร้างของพิมพ์ทั้งหมดมี 1739 องค์ แบ่งเป็นสีแดง 203 องค์ เหลือง 1214 องค์ ขาว 140 องค์ ดำ 47 องค์ เขียงทหาร 145 องค์ครับ