วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระปิดตาไม้แกะมหาลาภ ปี 37-38







ในการสร้างพระพิมพ์ต่างๆของครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระผงซะส่วนมาก แต่มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นที่ไม่ใช้พระผงแต่เป็นพระไม้แกะครับ เรียกว่าพระปิดตาไม้แกะมหาลาภ สร้างปี 37 ครับแล้วทำการอธิฐานจิต จนถึงปี 38 ครับเพราะฉะนั้น พุทธคุณเต็มเปี่ยมเลยก็ว่าได้ ส่วนประวัติการสร้างนั้น คุณเมี้ยน เปียผ่องได้นำไม้คูณ (ต้นลมแล้ง) ตายพรายมา 1 ท่อนแล้วทำการผ่าซีกให้เป็นท่อน ๆ ครับ จากนั้นได้ทำไปกลึงให้เป็นท่อนกลมๆ โดย คุณสมบัติ สมพัตร และคุณชัยเกียรติ เลียวหิรัญ (ซึ่งเป็นลูกศิษย์และผู้ช่วยคุณเมี้ยน เปียผ่องในสมัยนั้น) แล้วจึงส่งคืนให้คุณเมี้ยน เปียผ่องและเพื่อนช่วยกันแกะครับจำนวนการสร้างทั้งหมดมีจำนวน 202 องค์ครับ ลักษณะเป็นพระปิดตา ลององค์ โดยทุกองค์จะต้องมีการตอกโค๊ต เป็นรูปดอกจันและ ต.เต่าทุกองค์ บางองค์ อาจจะตอกด้านหลัง และบางองค์ก็อาจจะตอกใต้พระก็มี ชึ่งโค๊ตที่ใช้ตอกในตอนนั้น ได้ทำขึ้นโดย คุณชัยเกียรติ เลียวหิรัญ แบ่งลักษณะของโค๊ตได้อยู่ 3 ชนิด คือ ต.เต่าหางยาว ต.เต่าหางสั้น และดอกจันครึ่งเสี้ยวครับ และที่สำคัญที่สุด พระทุกองค์จะต้องมีการฝังตะกรุด เงินบริเวณใต้องค์พระทุกองค์ครับ แต่จะมีที่พิเศษต่างออกไปคือ มีการฝั่งตะกรุด 3 กษัตย์ (ทอง เงิน ทองแดง) เพียง 19 องค์เท่านั้น ซึ่งตะกรุดที่ใช้ฝังในวัตถุมงคลของครูบาจันตุ๊นั้น ได้แบ่งแยกเป็นการลงอัขระและผู้ถวายดังนี้
1.ตะกรุดทองคำ ได้ถวายโดยนายชัยเกียรติ เลียวหิรัญและได้ลงอักขระโดยครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
2.ตะกรุดเงินได้ถวายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง ลงอักขระโดยพระราชพรหมาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
3.ตะกรุดทองแดงได้ควายโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง และคุณสมชาย เรืองศิลา
พระปิดตาไม้แกะครูบาจันต๊ะนั้นอย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ว่ามีการแกะโดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง และเพื่อนอีก 2 คน เพราะฉะนั้นศิลปะก็จะไม่เหมือนกัน แต่ให้สังเกตที่ตะกรุดและโค๊ตที่ใช้ตอกให้ดี สำหรับเนื้อไม้นั้นมีเพียงไม้คูณเท่านั้น ไม่มีไม้ชนิดอื่นครับ แต่ก็จะมีพิเศษบ้างคืองานช้าง และ กาลาปัง หาดำ ครับผม แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าหายากสุด ๆ ครับ



....ต้น ไม้มงคล....

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เส้นนั้นสำคัญจริงหรือ











ขุนแผนครูบาจันต๊ะอนาวิโลไม่ว่าจะเป็นรุ่น 1 หรือ 2 ต่างก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า พุทธคุณเป็นเลิศจริง ๆ ก็เพระว่ามวลสารที่ใช้ทำนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นมวลสารที่เป็นมงคลทั้งนั้น โดยเฉพราะผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิมครับ ดังที่ได้นำเสนอบทความมาแล้วหลายต่อหลายตอน แต่ในปัจจุบันอาจเป็นเพราะความนิยมในวัตถุมงคลของท่านครูบานั้นมีความต้องการมาก ประกอบกับของๆ ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้น สร้างน้อยจริง ๆ ครับ มันก็เลยเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า " ของเก๊ระบาด " ก็ของมันขายได้นี่ครับ ใครบ้างไม่อยากได้เงิน ระหว่างกลับบาบกรรม กับกลัวไม่ได้เงิน คงเลือกอย่างหลังมากกว่า แต่เราก็ไม่ว่ากันครับ ถ้าพวกมารทำของเก๊ออกมา เราก็จะเสนอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาตลอดไป




มีคนตั้งคำถามขึ้นมากมายว่าทำไมพระเกจิทางภาคเหนือ ไม่มีความนิยมรุนแรงเหมือนกับเกจิทางภาคกลาง ยกตัวอย่างเช่น เหรียญหลวงพ่อพรหมปี 17 กับเหรียญหลวงปู่แหวนปี 17 ราคาต่างกันราวฟ้ากับดินเลยครับ ทั้งนี้เป็นอาจเพราะว่า คนทางภาคกลางรู้จักเกจิอาจารย์ที่ดังมาก ๆ ไม่เกินจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบกับเกจิอาจารญ์ทางภาคเหนือไม่ค่อยจะเปิดเผยตัวสักเท่าไร ประสบการณ์ของวัตถุมงคลก็เลยรู้กันในวงแคบ เลยทำให้คนแถบภาคกลางไม่ค่อยจะรู้จักเกจิอาจารย์แถบภาคเหนือเลย แต่เมื่อวิวัฒนาการณ์ของโลกอินเทอร์เน็ตกว้างไกล ผูคนทุกภาคทั่วประเทศต่างก็ศึกษาหาข้อมูลของเกจิอาจารย์ของแต่ละภูมิภาคอย่างง่ายดาย การสืบค้นประวัติก็ทำกันง่ายขึ้น ทำให้วัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ภาคเนือเริ่มมีราคาที่กระดิกขึ้นแล้ว แต่ได้มิวายโดนพวกมารทำของเก๊มาป่วนตลอดเวลา
เอาละครับทีนี้มาดูกันว่าพระขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 2 ที่กำลังมาแรง ณ ในขณะนี้ว่า หลักการพิจราณาแบบง่าย ๆ ทำกันอย่างไร จากรูปที่นำมาพิจารณานี้ เป็นรูปของพระขุนแผนรุ่น 2 ครับ มีทั้งหมด 3องค์ องค์สีดำเป็นพระเก๊ ให้ดูที่หน้าตาขององค์พระ จะดูตื้นมากเพราะเป็นพระที่ถอดพิมพ์มาครับ อย่างที่สอง ให้ดูที่พลอยใช้ฝังตัวพระของแท้จะฝังลึกมาก ส่วนของเก๊ดูคล้ายกับว่านำมาโปรย ๆ แค่ให้ติดครับ ส่วนอย่างที่สามให้พิจราณาดูขอบของพระด้านขวาครับ ทุกองค์จะต้องมีรอยเส้นของการ ยกออกจากแม่พิมพ์ เพราะว่าในการสร้างพระขุนแผนรุ่น 2 นั้น มีแม่พิมพ์ในการกดพระทั้งหมดอยู่ 3 ชิ้น คือแม่พิมพ์ชิ้นด้านหน้าพระ แม่พิมพ์ชิ้นด้านหลังพระ และแม่พิม์ชิ้นกลางพระ สำหรับแม่พิมพ์ชิ้นกลางพระนั้น ได้สร้างขึ้นเป็นรูปห้าเหลี่ยมเพื่อให้พระขุนแผนรุ่น 2 มีความสวยงามขึ้น จึงเป็นที่มาของการปรากฎรอยเส้นถอดพิมพ์ครับ



.....ต้น ไม้มงคล .....

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระสังกัจจายครูบาจันต๊ะ อนาวิโลรุ่น 1




พระสังกัจจาย ครูบาจันต๊ะ
นอกจากพระเครื่องพิมพ์ขุนแผนแล้วท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโลยังได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลเป็นเนื้อผงอีกหลายต่อหลายพิมพ์แต่ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ได้แก่พระเครื่องพิมพ์พระสังกัจจาย พระผงพิมพ์สังกัจจาย สร้างขึ้นและถวายให้กับครูบาจันต๊ะ อนาวิโล เมื่อวัที่ 10 ตุลาคม 2537 ขึ้น3ค่ำเดือน11ปีจอ โดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อร่วมทำบุญในการสร้างอุโบสถ วัดหนองช้างคืนครับ ซึ่งถ้าพูดไปแล้วก็คือว่าสร้างพร้อมกับพระขุนแผนรุ่น1นั้นเอง หากจะกล่าวถึงมวลสารที่ใช้ทำนั้นดีเยื่ยมทุกรายการครับ พอจะยกตัวอย่างก็คือ น้ำทิพย์วัดดอยขม้อ น้ำมนต์วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ น้ำมนต์รูปเสก หลวงพ่อคูณปริสุทโธ วัดบ้านไร่ แบ่งเสกหลวงพ่อจุ้ยเพชรบุรีผง ไม้ไผ่แดงครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ผงดอกไม้แห้งนานาชนิด กาฝากรัก กาฝากขนุน ผงสมเด็จหลวงพ่อแดง วัดเทพไดชิฐ ปูนขาว น้ำมันตั๊งอิ้ว ฯลฯ ซึ่งมวลสารที่ใช้ทำนั้นยังมีอีกมากมายที่กล่าวไม่หมด เป็นยังไงบ้างครับแค่ฟังมวลสารที่ใช้ทำพระสังกัจจายแล้ว ถึงกับตะลึงเลยครับบางครั้งต้องยอมรับว่าการสร้างพระเครื่องในปัจจุบันมวลสารยังเทียบกับการทำสมัยก่อนไม่ได้เลยครับ
ซึ่งในการสร้างพระสังกัจจายนั้น มีพิมพ์เดียว แบ่งเป็นสีเหลืองและอมน้ำตาล 1,335 องค์ สีแดง133 องค์ สีดำ 75 องค์ สีขาว 154 องค์ สีเขียวทหาร 112 องค์ ทั้งที่มีการสร้างแบบทาทองอีก 41 องค์ซึ่งแบบทาทองที่ด้านหลังจะไม่มีการปั้มตรายางและมีการจานเฉพาะตัวครับ รวมจำนวนในการสร้างพระผงพิพ์พระสังกัจจายทั้งหมดมีแค่ 1,850 องค์เท่านั้น เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่าสร้างน้อยกว่าพระขุนแผนเกือบสี่เท่าครับ
พุทธคุณของพระสังกัจจายครูบาจันต๊ะนั้นเด่นไปทางโชคลาภค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่างๆครับ เมตตามหานิยมก็มี แต่ส่วนมากผู้ที่ได้ใช้บูชาพระสังกัจจายครูบาจันต๊ะนั้น พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการเงินการทองคล่องตัวครับสำหรับราคาในการเช่าหาพระผงพิมพ์สังกัจจายพระครูจันต๊ะ นั้น อยู่ที่หลักพันต้นๆครับ เพราะว่าความนิยมยังสู้ขุนแผนและขุนช้างไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะว่าหายากกว่าพระพิมพ์หลักๆ จึงไม่มีการนิยมหากันแต่ผู้เขียนขอบอกว่าพุทธคุณนั้นเหมือนกับขุนช้างขุนแผนรวมกันเลยครับ



.....ต้น ไม้มงคล...

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระขุนแผนชัยมงคล ( ขุนแผนครูบาจันต๊ะรุ่น 2 )




พระขุนแผนชัยมงคล (ขุนแผนรุ่น 2)
หลังจากที่ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ได้สร้างพระผงพิมพ์ขุนแผน ในปี 2537 นั้นปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านต่างเป็นที่ยอมรับและแสวงหากันมาก จนของเริ่มจะหายากขึ้น จากนั้นได้มีการสร้างพระผงพิมพ์ขุนแผนอีกครั้งในปี 2544 ชื่อว่า “ พระขุนแผนชัยมงคล ” หรือ “ ขุนแผนครูบาจันต๊ะ อนาวิโล รุ่น 2”
ซึ่งลักษณะการสร้างนั้นมีแค่พิมพ์เดียวเท่านั้น เป็นพิมพ์พระพุทธนั่งประทับมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว ดูพิมพ์แล้วคล้ายกับพระขุนแผนพิมพ์แขนอ่อนของอยุธยาครับ ด้านหลังพระเป็นรูปกงจักรเพชร บอกชื่อวัดและปีที่สร้าง แบ่งแยกออกเป็น 2 สีหลัก คือ เหลืองอมส้มและสีดำเท่านั้น และยังพบว่าได้มีการสร้างพระสองสีคู่อีกด้วย โดยการสร้างที่ 2 สีนี้ยังแบ่งออกเป็นแบบธรรมดาและผังตะกรุดอีกด้วย การสร้างทั้งหมดจำนวน 14,949 องค์ แบ่งออกดังนี้
1. เนื้อขาวอมน้ำตาลส้ม 14,804 องค์
2. เนื้อสีดำ 99 องค์
3. เนื้อขาวอมส้มตะกรุดทองคำโรยผงทอง 19 องค์
4. เนื้อขาวอมส้มตะกรุงเงิน 1 ดอก 49 องค์
5. เนื้อขาวอมส้มตะกรุดเงิน 3 ดอก หลังแบน 9 องค์
6. สีดำตะกรุดเงิน 1 ดอก 5 องค์
7. สีดำตะกรุดคู่ เงิน,ทอง 3 องค์
8. เนื้อสองสีตะกรุดคู่ เงิน,ทอง 15 องค์
9. เนื้อสองสีตะกรุดเงิน 1 ดอก 5 องค์
รวม 14,949 องค์
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงมวลสารในการสร้างนั้นบอกได้เลยว่าสุดยอดครับ และพอที่จะบรรยายมวนสารหลัก ๆ ได้ดังนี้ เศษพระผงญาวิลาศหลวงพ่อแดงวัดเขาบันใดอิฐ ผงตะใบหลวงพ่อแดงวัดเขาบันใดอิฐ เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 กาฝากขนุน กาฝากมะรุม กาฝากชมพู่ ผงหลวงพ่อทองคำวัดท่าทองอุตรดิตถ์ ผงเผาในลาน(ธรรมเก่า)วัดหนองช้างคืน ผงหลวงพ่อเกษมลำปาง ผงวัดห้วยทรายใต้เพชรบุรี อิฐกระเบื้องเก่าวัดหนองช้างคืน น้ำมนต์หลวงพ่อเกษมสุสานไตรลักษณ์ลำปาง น้ำมนต์วัดหนองช้างคืน ปูนเปลือกหอย ว่านกาหลงกาฝากพุทรา พลอยพระธาตุศรีจอมทอง เกศาครูบาจันต๊ะ ชานหมากพ่อแก่ แร่ร่องระกำเพชรบุรี กาฝากลูกหว่า กาฝากน้อยหนา นอกจากนี้ยังได้มีวัตถุมงคลที่พูดได้ว่าสุดยอดอีกประการหนึ่งนั้นคือ ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมวัดระหารไร่ จ.ระยองอีก 1 ถ้วย ลูกอมผงพรายกุมารอีก 1 ลูก ซึ่งผงพรายกุมารได้มาจาก พระอาจารย์วัดป่างิ้ว อ.สารภี ซึ่งท่านได้มาจากลูกศิษย์หลวงปู่ทิม นอกจากนี้แล้ว ขุนแผนรุ่น 2 เฉพาะเนื้อสีดำเท่านั้นได้ใส่เกศาครูบาวัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่ อีกด้วย ซึ่งครูบาจันต๊ะได้อธิฐานจิต ณ วัดหนองช้างคืน วันที่ 1 ถึง 25 กรกฏาคม 2544 ครับ
ต้น ไม้มงคล