เครื่องรางของขลังครูบาจันต๊ะ
ตอนที่ 1 ขุนช้างครูบาจันต๊ะ
เป็นที่ถกเถียงกันอยู่พักหนึ่งในการจัดหมวดหมู่เครื่องรางนั้น ซึ่งวัตถุมงคลที่เรียกว่าพิมพ์ขุนช้าง จะจัดให้เป็นเครื่องรางหรือพระเครื่องกันแน่ เพราะว่าที่แท้จริงแล้วผู้สร้างมีความประสงค์ที่จะสร้างขุนช้างให้เป็นพระเครื่อง แต่เมื่อการเสวนาเสร็จสิ้นก็สรุปได้ว่าให้จัดวัตถุมงคลพิมพ์ขุนช้าง ไว้อยู่ในหมวดของเครื่องราง เหมือนกับ นางกวัก กุมารทอง หรือ อิ่น สาเหตุก็เพราะว่าลักษณะของขุนช้างนั้นเป็นคนหรือบุรุษทั่วไป มิได้เป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นขุนช้างครูบาจันต๊ะ อนาวิโล จึงอยู่ในหมวดหมู่ของเครื่องรางของขลังเมืองล้านนาครับ
ตามพงศาวดารหรือวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องขุนช้าง - ขุนแผนนั้น ตัวละครที่มีชื่อว่าขุนช้างนั้น มีลักษณะตัวอ้วน หัวล้าน หน้าตาไม่มีเสน่ห์ ซึ่งมองดูแล้วไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจ แก่บรรดาหญิงสาวทั้งหลาย ซึ่งต่างกับตัวละครที่ชื่อว่าขุนแผนซึ่งมีรูปร่างหน้าตาสง่างาม ผิวพรรณ วรรณะผุดผ่องดังทองเนื้อเก้า ผู้ใดเห็นก็รักก็หลง แต่ถ้าย้อนกลับไปดูในเนื้อหาวรรณกรรมแล้วตัวขุนช้างจะมีดีกว่าขุนแผนตรงมีเงินมีทองใช้ตลอด ร่ำรวย ซึ่งต่างกับขุนแผนที่ไม่ค่อยมีเงินใช้ ติดคุกเป็นว่าเล่น เสียกับผู้หญิงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ พระเครื่องพิมพ์ขุนแผนจึงมีพุทธคุณเด่นไปทาง เมตตามหานิยมและมหาอุดครับ
ที่นี้ย้อนกลับมาเรื่องขุนช้างครูบาจันต๊ะบ้าง ท่านนั้นได้สร้างวัตถุมงคลของท่านเป็นพิมพ์ขุนช้างและให้เป็นเนื้อผง ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เป็นรุ่นแรกของท่านเลยก็ว่าได้ ขุนช้างครูบาจันต๊ะสร้างถวายโดย คุณเมี้ยน เปียผ่อง เมื่อ 15 มิถุนายน 2535 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 อธิฐานจิตโดย ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน (ลำพูน) , ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี (เชียงใหม่) , ครูบาหน้อย วัดบ้านปง (แม่แตง) , ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย (พร้าว) ลักษณะการสร้างแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ซึ่งในการแบ่งแยกพิมพ์บางครั้งอาจสับสนบ้าง เพราะว่าขนาดของขุนช้างนั้นใกล้เคียงกัน จึงให้สังเกตที่ผ้าขาวม้าตรงหน้าตักของขุนช้าง ถ้าเป็นพิมพ์ใหญ่ผ้าขาวม้าตรงหน้าตักจะชัดและแหลมกว่าพิมพ์เล็ก โดยขุนช้างครูบาจันต๊ะ อนาวิโล มีจำนวนการสร้างทั้งหมดดังนี้ (1) พิมพ์ใหญ่เนื้อขยาสาร์ตทาทอง 221 องค์ ,(2) พิมพ์เล็กเนื้อขยาสาร์ตทาทอง 244 องค์ , (3) พิมพ์ใหญ่เนื้อธรรมดาไม่ทาทอง 714 องค์ , (4) พิมพ์เล็กเนื้อธรรมดาไม่ทาทอง 1,371 องค์ , (5) พิมพ์ใหญ่เนื้อขยาสาร์ตทาทองฝังตะกรุดทองคำหลวงพ่อคูณ 1 องค์ และ (6) พิมพ์เล็กเนื้อขยาสาร์ตทาทองฝังตะกรุดทองคำหลวงพ่อคูณ 1 องค์ รวมทั้งสิ้นในจำนวนการสร้างทั้งหมดมี 2,252 องค์เท่านั้นครับ โดยในการสร้างขุนช้างนี้ ได้ทำการแบ่งวัตถุมงคลให้กับครูบาท่านต่าง ๆ ที่ได้นำไปอธิฐานจิต โดยมีจำนวนดังนี้ ครูบาดวงดี จำนาน 134 องค์ , ครูบาอินสม จำนวน 135 องค์ , ครูบาหน้อย จำนวน 110 องค์ โดยขุนช้างส่วนใหญ่ที่นำไปถวายให้กับครูบาที่กล่าวมาทั้งสามท่านนี้ จะเป็นขุนช้างเนื้อธรรมดา และพิมพ์เล็กทาทองเท่านั้น จะไม่มีขุนช้างพิมพ์ใหญ่ที่ทาทองไปถวายท่านเลย เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่าขุนช้างพิมพ์ใหญ่เนื้อขยาสาร์ต ทาทองนั้น ออกที่วัดหนองช้างคืนเพียงที่เดียวครับ
ต้น ไม้มงคล
ตอนที่ 1 ขุนช้างครูบาจันต๊ะ
เป็นที่ถกเถียงกันอยู่พักหนึ่งในการจัดหมวดหมู่เครื่องรางนั้น ซึ่งวัตถุมงคลที่เรียกว่าพิมพ์ขุนช้าง จะจัดให้เป็นเครื่องรางหรือพระเครื่องกันแน่ เพราะว่าที่แท้จริงแล้วผู้สร้างมีความประสงค์ที่จะสร้างขุนช้างให้เป็นพระเครื่อง แต่เมื่อการเสวนาเสร็จสิ้นก็สรุปได้ว่าให้จัดวัตถุมงคลพิมพ์ขุนช้าง ไว้อยู่ในหมวดของเครื่องราง เหมือนกับ นางกวัก กุมารทอง หรือ อิ่น สาเหตุก็เพราะว่าลักษณะของขุนช้างนั้นเป็นคนหรือบุรุษทั่วไป มิได้เป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นขุนช้างครูบาจันต๊ะ อนาวิโล จึงอยู่ในหมวดหมู่ของเครื่องรางของขลังเมืองล้านนาครับ
ตามพงศาวดารหรือวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องขุนช้าง - ขุนแผนนั้น ตัวละครที่มีชื่อว่าขุนช้างนั้น มีลักษณะตัวอ้วน หัวล้าน หน้าตาไม่มีเสน่ห์ ซึ่งมองดูแล้วไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจ แก่บรรดาหญิงสาวทั้งหลาย ซึ่งต่างกับตัวละครที่ชื่อว่าขุนแผนซึ่งมีรูปร่างหน้าตาสง่างาม ผิวพรรณ วรรณะผุดผ่องดังทองเนื้อเก้า ผู้ใดเห็นก็รักก็หลง แต่ถ้าย้อนกลับไปดูในเนื้อหาวรรณกรรมแล้วตัวขุนช้างจะมีดีกว่าขุนแผนตรงมีเงินมีทองใช้ตลอด ร่ำรวย ซึ่งต่างกับขุนแผนที่ไม่ค่อยมีเงินใช้ ติดคุกเป็นว่าเล่น เสียกับผู้หญิงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ พระเครื่องพิมพ์ขุนแผนจึงมีพุทธคุณเด่นไปทาง เมตตามหานิยมและมหาอุดครับ
ที่นี้ย้อนกลับมาเรื่องขุนช้างครูบาจันต๊ะบ้าง ท่านนั้นได้สร้างวัตถุมงคลของท่านเป็นพิมพ์ขุนช้างและให้เป็นเนื้อผง ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เป็นรุ่นแรกของท่านเลยก็ว่าได้ ขุนช้างครูบาจันต๊ะสร้างถวายโดย คุณเมี้ยน เปียผ่อง เมื่อ 15 มิถุนายน 2535 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 อธิฐานจิตโดย ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน (ลำพูน) , ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี (เชียงใหม่) , ครูบาหน้อย วัดบ้านปง (แม่แตง) , ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย (พร้าว) ลักษณะการสร้างแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ซึ่งในการแบ่งแยกพิมพ์บางครั้งอาจสับสนบ้าง เพราะว่าขนาดของขุนช้างนั้นใกล้เคียงกัน จึงให้สังเกตที่ผ้าขาวม้าตรงหน้าตักของขุนช้าง ถ้าเป็นพิมพ์ใหญ่ผ้าขาวม้าตรงหน้าตักจะชัดและแหลมกว่าพิมพ์เล็ก โดยขุนช้างครูบาจันต๊ะ อนาวิโล มีจำนวนการสร้างทั้งหมดดังนี้ (1) พิมพ์ใหญ่เนื้อขยาสาร์ตทาทอง 221 องค์ ,(2) พิมพ์เล็กเนื้อขยาสาร์ตทาทอง 244 องค์ , (3) พิมพ์ใหญ่เนื้อธรรมดาไม่ทาทอง 714 องค์ , (4) พิมพ์เล็กเนื้อธรรมดาไม่ทาทอง 1,371 องค์ , (5) พิมพ์ใหญ่เนื้อขยาสาร์ตทาทองฝังตะกรุดทองคำหลวงพ่อคูณ 1 องค์ และ (6) พิมพ์เล็กเนื้อขยาสาร์ตทาทองฝังตะกรุดทองคำหลวงพ่อคูณ 1 องค์ รวมทั้งสิ้นในจำนวนการสร้างทั้งหมดมี 2,252 องค์เท่านั้นครับ โดยในการสร้างขุนช้างนี้ ได้ทำการแบ่งวัตถุมงคลให้กับครูบาท่านต่าง ๆ ที่ได้นำไปอธิฐานจิต โดยมีจำนวนดังนี้ ครูบาดวงดี จำนาน 134 องค์ , ครูบาอินสม จำนวน 135 องค์ , ครูบาหน้อย จำนวน 110 องค์ โดยขุนช้างส่วนใหญ่ที่นำไปถวายให้กับครูบาที่กล่าวมาทั้งสามท่านนี้ จะเป็นขุนช้างเนื้อธรรมดา และพิมพ์เล็กทาทองเท่านั้น จะไม่มีขุนช้างพิมพ์ใหญ่ที่ทาทองไปถวายท่านเลย เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่าขุนช้างพิมพ์ใหญ่เนื้อขยาสาร์ต ทาทองนั้น ออกที่วัดหนองช้างคืนเพียงที่เดียวครับ
ต้น ไม้มงคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น