วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระปิดตาครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ปี 2000



พระปิดตาครูบาจันต๊ะ อนาวิโลปี 2000 หรือเรียกกันในสนามพระว่าพระปิดตารุ่น 2 สร้างปี 2543 ที่เรียกว่าพระปิดตาปี2000 ก็เพราะว่าปีที่สร้างคตรงกับ ค.ศ. 2000 ครับ พุทธคุณเด่นไปทางโชคลาภ ค้าขายครับ
มวลสารการสร้างพระปิดตาปี2000
พระผงหลวงพ่อแดงและผงตะไบพระหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เกสรดอกไม้ 108 ว่านต่าง ๆ กาฝากขนุน การฝากมะรุม กาฝากชมพู่ ผงหลวงพ่อทองดำวัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์ ผงเผ่าใบลานเก่าวัดหนองช้างคืน ผงหลวงพ่อเกษมสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ด้ายมงคลหลวงพ่อเกษม ผงพระวัดห้วยทรายใต้ จ.เพชรบุรี อิฐ-กระเบื้องเก่าวัดหนองช้างคืน น้ำมนต์วัดพระสงฆ์ น้ำมนต์หลวงพ่อเกษมสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง น้ำมนต์วัดหนองช้างคืน ปูนเปลือกหอย ว่านเถาหลง กาฝากพุททรา พลอยพระธาตุจอมทอง เกศาครูบาจันต๊ะวัดหนองช้างคืน ชานหมากพ่อแก่ แร่ร่องระกำเพชรบุรี
ได้เข้าพิธีพุทธาพิเษกโดย หลวงพ่อทองดำ พร้อมพระ “ รุ่นเจ้าคุณนิมานโกวิท ” วัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2542 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 เวลา 14.09 น. หลวงปู่ทิมวัดพระขาว จ.อยุธยา เป็นผู้ดับเทียนชัย และครูบาจันต๊ะ อาวิโล วัดหนองช้างคืน ได้ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2542
สีและจำนวนการสร้าง
สีแดงชานหมาก จำนวน 143 องค์
สีดำฝั่งตะกรุด ฝั่งพลอย โรยทอง จำนวน 525 องค์
สีดำฝั่งตะกรุดเงินและทอง จำนวน 35 องค์
สีดำไม่ฝั่งตะกรุด จำนวน 25 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งตะกรุดเงิน ฝั่งพลอยโรยทอง จำนวน 132 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งพลอยโรยทองตะกรุดเงินและทอง จำนวน 18 องค์
สองสี ดำ-ขาว ตะกรุดเงิน 3 ดอก จำนวน 2 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งแก้วขนเหล็ก จำนวน 1 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งแก้วโป่งข่าม จำนวน 1 องค์
สีขาวฝั่งพลอย จำนวน 687 องค์
สีน้ำตาลฝั่งพลอยหน้าโรยแร่หลังโรยพลอย จำนวน 80 องค์
สีน้ำตาลฝั่งตะกรุดโรยพลอย จำนวน 124 องค์
สีน้ำตาลฝั่งตะกรุดโรยพลอยฝั่งชิ้นส่วนสมเด็จวัดบวรฯ
ใส่เส้นเกศาครูบาอินวัดฟ้าหลั่ง จำนวน 176 องค์
ผงสมเด็จศาสดาเนื้อแร่ฟูออไรค์ปี 16 วัดบวรฯทำสองสี
แดงชานหมาก-ขาวฝั่งพลอย จำนวน 1 องค์
จำนานการสร้างทั้งหมดประมาณ 7,324 องค์

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรก ปี 2512




เหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรก ปี 2512
วัดหนองช้างคืน ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
เหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรกวัดหนองช้างคืนได้จัดสร้างเป็นครั้งแรกของจังหวัดลำพูนเนื่องในวาระที่ วัดหนองช้างคืนครบ 700 ปี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เป็นความคิดริเริ่มของ นายสง่า พงษ์ศิลป์ อดีตข้าราชการกรมทางรถไฟ ( หนองช้างคืน ) โดยความเห็นชอบของครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองช้างคืน และเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในการทำตะกรุดที่มีพุทธคุณทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด จากอาวุธและของมีคม จนเป็นที่รู้จักของคนในท้องถิ่นและคนต่างถิ่นและเป็นที่ยอมรับของมหาชนทุกสารทิศมาถึงทุกวันนี้
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูในตัว เนื้อทองเหลืองเคลือบนิกเกิ้ล ( ออกสีเงิน ) ด้านหน้าเป็นรูปพระนางจามเทวี (ท่ายืน ) มือขวาถือดาบ มือซ้ายถือธนู และยังสะพายลูกธนูแสดงถึงการพร้อมรบ ด้านหลังเป็นรูปพระธาตุเจดีย์ ทับหน้าโบสถ์ จำนวนสร้างทั้งหมด 3,000 เหรียญ เกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในขณะนั้น พอสังเขประกอบด้วย
- ครูบาเสาร์ ปัญโญ วัดหนองช้างคืน
- ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล วัดหนองช้างคืน
- ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ( วังมุย )
- ครูบาสิงห์แก้ว วัดป่าขาม
และยังสันนิษฐานว่าน่าจะมีสหายธรรมของครูบาจันต๊ะในยุคนั้นมาร่วมด้วนอีก 3 ท่านคือ
- ครูบาพรหมมา วัดพระบาทตากผ้า
- ครูบาชัยวงค์ วัดพระบาทห้วยต้ม
- ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
พิธีพุทธาพิเสกตามประเพณีเมืองเหนือแบบล้านนามีการบวงสรวงโดยพิธีพราหมณ์อัญเชิญดวงวิญญาณของพระนางจามเทวี พระเกจิอาจารย์นั่งปรกตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า
การเปิดให้เช่าบูชาสำหรับผู้สนใจในขณะนั้น ราคาเหรียญละ 10 บาท ยังไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าใดนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์จะมีแต่ชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้นที่บูชากันไว้หลังคาเรือนละ 1-2 เหรียญ มีบางครอบครัวที่เช่าไว้ให้ลูกหลานจนครบคน
จะด้วยหลักฐานอื่นใดไม่ทราบได้ว่า วัดหนองช้างคืนมีอายุครบ 700 ปี ซึ่งหลักฐานดังกล่าวนี้ได้ปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญพระนางจามเทวี รุ่นนี้ว่า
ที่ระลึกในวาระครบ 700 ปี วัดหนองช้างคืน 1 พฤษภาคม 2512 นั่นแสดงว่าวัดหนองช้างคืนมีอายุเก่าแก่กว่าเมืองเชียงใหม่ถึง 27 ปี ( เชียงใหม่ครบ 700 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2539 ) เวลาผ่านไปนับถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลา 38 ปี สนนราคาจากเดิมเหรียญละ 10 บาท กลายมาเป็นเหรียญยอดนิยมของจังหวัดลำพูน ซึ่งอยู่ในราคาหลักพันกลาง ๆ จนถึงเกือบหมื่น ในอนาคตข้างหน้าอาจจะทะลุหลักหมื่นก็เป็นไปได้ สาเหตุเนื่องมาจากจำนวนสร้างน้อย เกจิในยุคนั้นก็ล้วนมีวิทยาอาคมอันล้ำเลิศและด้วยอานุภาพพุทธคุณของเหรียญก็เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่ได้พกพา ซึ่งมีเรื่องมาเล่าให้ทางวัด ฯ ได้รับฟังอยู่เสมอ ๆ เกี่ยวกับเรื่องแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ให้โชค- ลาภ และยังเด่นเรื่องกิจการค้าขายเป็นเลิศ ผู้ใดมีไว้ครอบครองจงเก็บรักษาบูชาไว้ให้ดี ท่านจะพบกับความเจริญรุ่งเรืองและสิ่งที่พึงปรารถนาทุกประการ
...ต้น ไม้มงคล...

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รายละเอียดการจัดสร้าง พระสิงห์หนึ่งหล่อโบราณ ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ ม่อนปู่อิ่น




เจตนาของการสร้างพระสิงห์หล่อโบราณ ครูบาตั๋น ปัญโญ ครั้งนี้เป็นความต้องการของหลวงปู่ครูบาตั๋นที่ต้องการสร้าง ศาลาปฏิบัติธรรม แทนที่กุฏิไม้หลังเก่าซึ่งมีคนมารับเป็นเจ้าภาพแล้ว และได้รื้อถอนกุฏิหลังเก่าของหลวงปู่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ยอมมาทำตามที่รับปากไว้ ทางคณะศรัทธารวมถึงศิษย์ยานุศิษย์ รวมทั้ง ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และ พัฒนาการอำเภอ คุณ อดุลย์ ได้หารือกันและจัดสร้างพระสิงห์หล่อโบราณขึ้น จำนวน 199 องค์ พอถึงวันหล่อพระวันที่ 5 ธันวาคม ปรากฏว่ายอดจองเต็ม ก่อนหลวงปู่จะออกมาเททองอีกครับ และ ในงานหล่อพระสิงห์( หล่อโบราณ ) ได้เกิดเหตุน่าอัศจรรย์เกิดขึ้น ก่อนหลวงปู่จะสวดชยันโต เพื่อทำการหล่อพระสิงห์ ปรากฏว่าจู่ๆฟ้าที่ดูคลื้มๆ กลับเปลี่ยนเป็นแสงแดดจ้าและได้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้น เป็นที่กล่าวขานกันในบรรดาผู้คนที่ไปร่วมงานในวันนั้นเป็นอย่างมากครับ และพระชุดนี้ได้ทำการตอกโค๊ท ไว้ที่ด้านหลังพระและหมายเลขไว้ที่ใต้ฐานของพระ และได้มีการทำลายบล็อกและแม่พิมพ์ ต่อหน้าหลวงปู่และสักขีพยานจำนวนมากหลังจากที่หล่อพระเสร็จในวันที่ 5 ธันวาคมแล้ว และให้หลวงปู่อธิฐานจิตปลุกเสกอีกรอบในวันที่ 9 ธันวาคม ได้พระสิงห์หล่อโบราณจำนวนทั้งหมดจำนวน 199 องค์ พระสิงห์แบบไม่ตัดช่อแจกกรรมการที่มาช่วยงานจำนวน 45 องค์ และพระสิงห์หน้าตัก 5 นิ้ว 5 องค์ พระสิงห์หน้าตัก 9 นิ้วอีก 2 องค์ ( พระสิงห์ 5 , 9 นิ้วช่างหล่อแถมให้และได้มอบให้แก่พระพบ สังวโร พระเลขาหลวงปู่ตั๋นไว้ ) โดยพระพบ สังวโร ได้นำพระสิงห์หน้าตัก 9 นิ้ว ไว้ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น 1 องค์ และอีกองค์ได้เอาไปไว้ที่วัดศรีแดนเมือง และปัจจัยทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งหมดก็จะนำมาสร้างศาลาปฏิบัติธรรมโดยทันที ขอขอบคุณผู้ที่มีจิตศรัทธาเช่าพระสิงห์หล่อโบราณทุกๆท่าน และผู้ที่ร่วมบุญนี้ทุกๆคน ขอให้บารมีครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ได้เมตตาจารแผ่นเงิน แผ่นทอง มาเป็นชนวนหล่อพระสิงห์หล่อโบราณในครั้งนี้ และบารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาตั๋น จงปกปัก รักษาท่าน ให้โชคดี มีชัย ทำมาค้าขึ้น แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง ขอให้บุญนี้ส่งคืนไปถึงท่าน ร้อยเท่าพันเท่า และมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปอีกเทอญ



รายนามแผ่นจารอธิฐานจิตครูบาอาจารย์ที่นำมาหล่อ พระสิงห์หล่อโบราณ ครูบาตั๋น ปัญโญ




1. แผ่นจาร ครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น


2. แผ่นจาร ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฑฒิราษฏร์ (บ้านฟ่อน)


3. แผ่นจาร ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง (วัวลาย)


4. แผ่นจาร พระธรรมสิทธาจารย์ ( ครูบาทอง สิริมังคโล ) วัดพระธาตุศรีจอมทอง


5. แผ่นจาร พระครูพินิจสารธรรม ( ครูบาพรรณ ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


6. แผ่นจาร พระครูประจักษ์ธรรมวราภรณ์ ( ครูบาข่าย ) วัดหมูเปิ้ง


7. แผ่นจาร พระครูบวรสุขบท ( ครูบาสุข ) วัดป่าซางน้อย


8. แผ่นจาร พระครูถาวรศีลพรต ( ครูบาอินถา ) วัดอินทราพิบูลย์ ( หนองไคร้ )


9. แผ่นจาร พระครูสังวราภิมณฑ์ ( ครูบาคำ สังวโร) วัดศรีดอนตัน


10. แผ่นจาร พระเทพวิสุทธิคุณ วัดบุพผาราม


11. แผ่นจาร ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง


12. แผ่นจาร พระครูพิมลธรรมรัตน์ ( ครูบาตั๋น เตชธัมโม ) วัดย่าพาย


13. แผ่นจาร พระครูวิจิตวรวัฒน์ ( ครูบาลือ ) วัดห้วยแก้ว


14. แผ่นจาร พระครูถาวรธรรมวัตร ( ครูบายืน ) วัดสบล้อง


15. แผ่นจาร พระครูโพธิโสภณ ( ครูบาศรีวัย ) วัดหนองเงือก


16. แผ่นจาร พระครูมงคลพิบูลย์ (ครูบาบุดดา) วัดหนองบัวคำ


17. แผ่นจาร พระครูโสภณสารคุณ ( ครูบามา ) วัดศิริชัยนิมิต ( กิ่วแลป่าเป้า )


18. แผ่นจาร พระครูปัญญาวราภรณ์ ( ครูบาแก้ว ) วัดศรีชุม


19. แผ่นจาร พระครูประภากรพิสุทธิ์ ( ครูบาปั๋น ปัญโญ ) วัดป่าแดด


20. แผ่นจาร พระครูธรรมโกศล ( ครูบาอินเหลา ) วัดร้องวัวแดง


21. แผ่นจาร พระครูพิพิธปุญญาภิรัต ( ครูบาอินตา กตปุญโญ ) วัดศาลา


22. แผ่นจาร พระครูอรรถกิจจาทร ( ครูบาอุ่น อัตถกาโม ) วัดโรงวัว


23. แผ่นจาร พระราชพุทธิมงคล ( หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร ) วัดโรงธรรมสามัคคี


24. แผ่นจาร หลวงปู่สังข์ สังข์กิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ


25. แผ่นจาร พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก


26. แผ่นจาร พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่


27. แผ่นจาร หลวงปู่บุญจันทร์ จันทสโร วัดถ้ำผาผึ้ง


28. แผ่นหล่อพระ หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด


29. แผ่นอธิฐานจิต พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล


30. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม




31. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่บัวไข สนัตจิตโต วัดสันติสังฆาราม


32 . แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่จันทร์เรียน


33. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่ท่อน ญาณวโร วัดศรีอภัยวัน


34. แผ่นจาร หลวงปู่มหาสนั่น พุทธปัญโญ วัดป่าเวฬุวัน


35. แผ่นจาร ท่านเจ้าคุณชินวงษ์ศาจารย์ วัดป่าเวฬุวัน


36. แผ่นจาร หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม


37. แผ่นจาร หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์


38. แผ่นจาร หลวงปู่แตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล


39. แผ่นจาร หลวงปู่คำดี ปัญญาภาโส วัดป่าสุทธาวาส


40. แผ่นจาร หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปัญญาปทาราม


41. แผ่นจาร หลวงพ่อกวง วัดป่านาบุญ


42. ชนวนหล่อรูปหล่อ หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง


43. ชนวนน้ำมนต์ผ่านการทำน้ำมนต์จากครูบาอาจารย์หลายรูป


44. ชนวนหลวงพ่อเงิน รุ่นฟ้าคำรณ วัดบางคลาน


45. ชนวนพระเก่า ของคุณ จรูญ สุจริตกุล


46. แผ่นอธิฐานจิต หลวงปู่เหรียญ วรลาโก


47. แผ่นหลังล็อคเก็ตรุ่นแรกสี่เหลี่ยม ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่เหลือหลัง เงิน นวะ ทองแดง


48. ชนวนหล่อพระ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่


49. ชนวนหล่อพระหลวงพ่อโสธร


50. พระกริ่งจอมสุรินทร์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


51. พระกริ่งน้ำมนต์หลวงพ่อเกษม เขมโก


52. เหรียญหลวงปู่แหวน วัดเจดีย์หลวง


53. พระปรกหลวงปู่คำพัน โฆสโก


54. เป้ง,กระดิ่งเก่า,เชิงเทียนบูชาพระเก่าของวัด


55. ตะกรุดลูกสมอครูบาสิทธิ อภิวัณโณ วัดปางต้นเดื่อ


56. เหรียญคณาจารย์อีกหลายสำนัก




รวบรวมชนวนแผ่นจารแผ่นอธิฐานจิตทั้งหมดโดย



1. พระพบ สังวโร


2. คุณ ศิริชัย ไลศิริพันธุ์


3. คุณ ธนวัฒน์ ธนทิภากร



สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ที่ได้บริจาคชนวนมาหล่อพระสิงห์หล่อโบราณครูบาตั๋นทุกๆท่าน และขออภัยที่ไม่ได้เอ่ยนามทุกๆท่านครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ






วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปลัดขิกครูบาจันต๊ะ อนาวิโล







ต้องยอมรับว่า วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล แห่งวัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน มาแรงจริงๆ ครับ และสำหรับในตอนนี้คงจะต้องกล่าวถึงเครื่องรางของขลัง สายครูบาจันต๊ะ อีกอย่างหนึ่งที่มาแรงไม่แพ้ตะกรุดเลยก็ว่าได้ เครื่องรางที่จะกล่าวถึงนั้นก็คือ ปลัดขิกไม้แกะครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
ในการสร้างปลัดขิกครูบาจันต๊ะนั้นเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. 2538 หลังการสร้างพระขุนแผนประมาณ 1 ปี โดยในการสร้างครั้งแรกนั้นได้ใช้ไม้คูน (ต้นลมแล้ง) ตาพรายมาสร้าง พร้อมกับพระปิดตาไม้แกะของท่านครูบา ซึ่งจำนวนในการสร้างปลัดขิกครั้งแรกนั้นไม่มีข้อมูลแน่ชัดแต่จากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ท่านแล้วไม่น่าจะเกิน 300 ตัวเท่านั้นโดยวิธีการสร้างนั้นได้นำไม้คูนตายพรายมาซอยผ่าเป็นซีกๆแล้วนำไปกลึงให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตร แล้วจึงนำไปแกะครับ เมื่อแกะเสร็จแล้วได้มีการตกแต่งด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อยทุกตัว ฉะนั้นปลัดขิกครูบาจันต๊ะที่สร้างครั้งแรกนั้นต้องสวยทุกตัวครับ เสร็จแล้วครูบาจันต๊ะจึงได้ลงอักขระบนปลัดขิกทุกตัว ซึ่งบางตัวใช้ดินสอ บางตัวใช้ปากกา หรือที่พบเห็นใช้เหล็กจารอย่างเดียวก็มี พอสร้างเสร็จก็กลายเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านมาก จนของที่ทำไม่พอแจก จากนั้นจึงได้มีการสร้างอีกครั้งในปีเดียวกันแต่ไม้ที่ใช้ทำจะแตกต่างกันกับตอนที่สร้างครั้งแรกคือ ใช้ไม้ขนุน , มะยม , ไม้สัก , เขากวาง , งาช้าง และ กัลปังหาดำ เป็นต้น เป็นเพราะว่าในการสร้างครั้งที่ 2 นี้ต้องสร้างให้ทันก่อนสิ้นปีเพราะจะได้ถือว่าเป็นรุ่นเดียวกัน ท่านครูบาจันต๊ะจึงให้ลูกศิษย์ช่วยกันแกะมากกว่า 1 คน ฉะนั้นพอแกะเสร็จ ปรากฎว่าศิลปะในการแกะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงมีการใช้โค๊ดตอกบนปลัดขิก ชึ่งเป็นโค๊ดตัวเดียวกันกับที่ใช้ตอกพระบิดดาไม้แกะครับ สำหรับโค๊ดที่ใช้ตอกนั้นจะมี 3 ชนิด คือ ต.หางสั้น , ต.หางยาว และตัวดอกจันครึ่งเลี้ยวครับ ซึ่งก็ได้พบว่าในการสร้างปลัดขิกครั้งที่ 2 นี้มีทั้งที่ได้ลงอักขระและไม่ได้ลงอักขระ เพราะว่าไม้บางชนิดนั้นมีความแข็งมาก



หลายท่านอาจสับสนในการแยกแยะปลัดขิกของครูบาดวงดี และครูบาจันต๊ะครับ ปลัดขิกของครูบาดวงดีนั้นสร้างภายหลังครูบาจันต๊ะหลายปีครับ แตไม้ที่ใช้ส่วนมากจะเป็นชนิดเดียวกันกับครูบาจันต๊ะและผู้สร้างถวายก็เป็นคน ๆ เดียวกัน ต่างกันตรงที่การจารอักขระและโค๊ดที่ใช้ตอกครับ สำหรับครูบาดวงดีนั้นจะเป็นการจารแบบสวยงาม ซึ่งในการจารนั้นไม่ได้ใช้เหล็กจารครับแต่จะใช้หินกรอฟันในการจารครับ ซึ่งดูสวยงามกว่าครูบาจันต๊ะ ส่วนโค๊ดที่ใช้ตอกนั้นครูบาจันต๊ะจะมีสามตัวคือ ต.หางสั้น ต.หางยาว และดอกจันเท่านั้นครับ ขอย้ำว่ามีโค๊ดแค่สามตัวเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดต้องตอกทั้งสามตัวครับ สำหรับครูบาดวงดีนั้นจะตอกโค๊ด ด.ครับ ไม่ใช้ ต. แต่ในการตอกนั้น โค๊ด ด.นั้นไม่มี ก็เลยใช้โค๊ด ต. แทนแต่ก็มีการดัดแปลงตัว ต. ให้เหมือนตัว ด. แต่ในที่สุดโค๊ดที่ใช้ตอกก็ดูคล้ายกับ ต. อยู่ดี เลยทำให้คนที่แสวงหาปลัดขิกครูบาจันต๊ะเข้าใจผิดเพี้ยนไปครับ โปรดพิจารณาให้ดี ครูบาจันต๊ะตัวจริงนั้นจะต้องมีสามโค๊ดครับ
ซึ่งพุทธคุณของปลัดขิกครูบาต๊ะ อนาวิโลนั้นได้ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันในบรรดาผู้ที่ใช้ ในเรื่องของเมตตานิยม , โชคลาภ , ค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่างๆ ในการเช่าหาปลัดขิกครูบาต๊ะ อนาวิโลนั้น ผู้ที่เช่าต้องมั่นใจในที่มาของปลัดขิก ประกอบกับต้องเคยเห็นของแท้มาก่อน และสามารถดูโค๊ดให้เป็น ซึ่งในสนามพระนั้นสนนราคาเช่าหาอยู่ประมาณหลักพันต้นๆ ถึงพันกลางๆ ครับขึ้นอยู่กับความสวยงามและเนื้อวัสดุที่ใช้แกะปลัดขิก สำหรับ เนื้อวัสดุที่ใช้แกะน้อยสุดและหายากที่สุด คืองาช้าง , เขากวางและกัลปังหาคำ ครับ


ต้นไม้มงคล

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

พระผงสมเด็จเปลวเพลิงรุ่นแรก (สมเด็จประภาณมณฑล) ปี 37











พระผงสมเด็จเปลวเพลิงนั้นสร้างพร้อมกับพระผงกลีบบัวและพระผงลีลา แต่มีจำนวนการสร้าที่น้อยกว่าโดยใช้มวลสารเดียวกับพระขุนแผนรุ่น 1 แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือแบบธรรมดาและแบบฝังตะกรุด สำหรับแบบฝังตะกรุดนั้น แบ่งออกเป็นตะกรุดเงิน ทอง เงิน และตะกั่ว และยังมีแบบพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ แบบฝังแผ่นทองลงอักขระไว้ที่ด้านหลังพระครับ ซึ่งจะพบเจอได้น้อยมาก ด้านหลังพระทุกองค์จะมีการปั้มตรายางเป็นชื่อครูบาจันต๊ะ และวัดหนองช้างคืน เป็นพระผงที่หาชมได้ยากขึ้นทุกวันครับ เมื่อก่อนไม่คอยมีใครสนใจแต่พอพระขุนแผนหายากแล้วก็กลับมาแสวงหากันยกใหญ่ซึ่งพุทธคุณนั้นไม่หนีพระขุนแผนไปชักเท่าไรหลอกครับ จำนวนการสร้างไม่เกิน 500 องค์ครับ




...ต้น ไม้มงคล....




วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

พระผงลีลารุ่นแรก




พระผงลีลาครูบาจันต๊ะ อนาวิโลนั้นสร้าง ปี 2538 พร้อมกับพระผงกลีบบัว มวลสารนั้นเป็นมวลสารชนิดเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก มีพิมพ์เดียวเท่านั้นด้านหน้าเป็นรูปพระลีลา ด้านหลังจะปั๊มตรายางเป็นชื่อท่านครูบาและชื่อวัด แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือแบบธรรมดา และแบบฝังตะกรุด สำหรับตะกรุดที่ฝังนั้นจำแนกออกเป็นตะกรุดเงิน ตะกรุดทองแดง และตะกรุดตะกั่ว แต่ก็จะมีแบบชนิดที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ฝังเมล็ดข้าวเปลือกไว้ที่องค์พระ ซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกนี้เป็นเมล็ดข้าวเปลือกที่ได้จากข้าวเปลือกที่ใช้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญครับ
เมื่อประมาณปี 2545 ได้เป็นฮือฮาในบรรดานักเสี่ยงโชคต่าง ๆ โดยฉะเพราะนักเล่นหวยครับ(หวยใต้ดิน) เพราะได้ข่าวว่าบรรดานักแทงเลขนั้น ได้กวาดพระผงลีลาจนเกลี้ยงสนามเลยครับ อันนี้ก็เป็นเหตุผลส่วนตัวนะครับกะผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่ไม่ต้องอธิบายทุกท่านก็คงจะเดาออกนะครับ จำนวนการสร้างนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดแต่คาดว่าไม่น่าจะเกิน 1,000 องค์ และในสนามพระนั้นบอกได้เลยว่าไม่ต้องเดินหาให้เมื่อยตาตุ่มหรอกครับหาอยากแล้ว ในรายการประกวดพระภาคเหนือก็ได้บรรจุพระผงลีลาครูบาจันต๊ะ อนาวิโลในรายการประกวดพระด้วย เห็นไหมครับถ้าไม่แน่จริงไม่มีรายการลงประกวดพระหลอกนะบอกให้

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระผงกลีบบัวรุ่นแรก




พระผงกลีบบัวรุ่นแรกครูบาจันต๊ะ อนาวิโล สร้าง ปี 2538 ถัดจากขุนแผนรุ่นแรก ครับ ใช้มวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก แต่จำนวนการสร้างนั้นน้อยมาก และไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสร้างกี่องค์น่าจะประมาณพันองค์เศษเท่านั้น เป็นพระผงนั่งสมาธิบนขาโต๊ะรูปโดยรวมคล้ายใบโพธ์ แต่กลับเรียกว่าพระผงกลีบบัว สร้างแค่พิมพ์เดียวเท่านั้น แบ่งออกเป็นแบบธรรมดาและแบบฝังตะกรุด สำหรับตะกรุดที่ฝังนั้นจำแนกออกเป็นตะกรุดเงิน ตะกรุดทองแดง และตะกรุดตะกั่ว และแบ่งสีของพระได้คือขาว ดำ เหลือง แดงครับ พระผงพิมพ์กลีบบัวครูบาจันต๊ะนั้นถือได้ว่าพิมพ์ที่พบหาได้ยากเลยพอดู เพราะว่าสร้างน้อยแต่สำหรับความนิยมนั้นจัดว่ายังเป็นรองพระผงพิมพ์ขุนช้างและขุนแผนอยู่หลายเท่าตัว แต่ถ้าองค์สวย ๆ และมีตะกรุดเงินด้วยแล้ว จะหายากมากกว่าแบบธรรมดา ส่วนมวลสารที่ใช้ทำนั้นก็เป็นมวลสารเดียวกันกับพระขุนแผนรุ่นแรก เพราะฉะนั้นพุทธคุณไม่ต่างอะไรกันเลยครับ


...ต้น ไม้มงคล...