วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระปิดตาครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ปี 2000



พระปิดตาครูบาจันต๊ะ อนาวิโลปี 2000 หรือเรียกกันในสนามพระว่าพระปิดตารุ่น 2 สร้างปี 2543 ที่เรียกว่าพระปิดตาปี2000 ก็เพราะว่าปีที่สร้างคตรงกับ ค.ศ. 2000 ครับ พุทธคุณเด่นไปทางโชคลาภ ค้าขายครับ
มวลสารการสร้างพระปิดตาปี2000
พระผงหลวงพ่อแดงและผงตะไบพระหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เกสรดอกไม้ 108 ว่านต่าง ๆ กาฝากขนุน การฝากมะรุม กาฝากชมพู่ ผงหลวงพ่อทองดำวัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์ ผงเผ่าใบลานเก่าวัดหนองช้างคืน ผงหลวงพ่อเกษมสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ด้ายมงคลหลวงพ่อเกษม ผงพระวัดห้วยทรายใต้ จ.เพชรบุรี อิฐ-กระเบื้องเก่าวัดหนองช้างคืน น้ำมนต์วัดพระสงฆ์ น้ำมนต์หลวงพ่อเกษมสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง น้ำมนต์วัดหนองช้างคืน ปูนเปลือกหอย ว่านเถาหลง กาฝากพุททรา พลอยพระธาตุจอมทอง เกศาครูบาจันต๊ะวัดหนองช้างคืน ชานหมากพ่อแก่ แร่ร่องระกำเพชรบุรี
ได้เข้าพิธีพุทธาพิเษกโดย หลวงพ่อทองดำ พร้อมพระ “ รุ่นเจ้าคุณนิมานโกวิท ” วัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2542 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 เวลา 14.09 น. หลวงปู่ทิมวัดพระขาว จ.อยุธยา เป็นผู้ดับเทียนชัย และครูบาจันต๊ะ อาวิโล วัดหนองช้างคืน ได้ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2542
สีและจำนวนการสร้าง
สีแดงชานหมาก จำนวน 143 องค์
สีดำฝั่งตะกรุด ฝั่งพลอย โรยทอง จำนวน 525 องค์
สีดำฝั่งตะกรุดเงินและทอง จำนวน 35 องค์
สีดำไม่ฝั่งตะกรุด จำนวน 25 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งตะกรุดเงิน ฝั่งพลอยโรยทอง จำนวน 132 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งพลอยโรยทองตะกรุดเงินและทอง จำนวน 18 องค์
สองสี ดำ-ขาว ตะกรุดเงิน 3 ดอก จำนวน 2 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งแก้วขนเหล็ก จำนวน 1 องค์
สองสี ดำ-ขาว ฝั่งแก้วโป่งข่าม จำนวน 1 องค์
สีขาวฝั่งพลอย จำนวน 687 องค์
สีน้ำตาลฝั่งพลอยหน้าโรยแร่หลังโรยพลอย จำนวน 80 องค์
สีน้ำตาลฝั่งตะกรุดโรยพลอย จำนวน 124 องค์
สีน้ำตาลฝั่งตะกรุดโรยพลอยฝั่งชิ้นส่วนสมเด็จวัดบวรฯ
ใส่เส้นเกศาครูบาอินวัดฟ้าหลั่ง จำนวน 176 องค์
ผงสมเด็จศาสดาเนื้อแร่ฟูออไรค์ปี 16 วัดบวรฯทำสองสี
แดงชานหมาก-ขาวฝั่งพลอย จำนวน 1 องค์
จำนานการสร้างทั้งหมดประมาณ 7,324 องค์

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรก ปี 2512




เหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรก ปี 2512
วัดหนองช้างคืน ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
เหรียญพระนางจามเทวีรุ่นแรกวัดหนองช้างคืนได้จัดสร้างเป็นครั้งแรกของจังหวัดลำพูนเนื่องในวาระที่ วัดหนองช้างคืนครบ 700 ปี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เป็นความคิดริเริ่มของ นายสง่า พงษ์ศิลป์ อดีตข้าราชการกรมทางรถไฟ ( หนองช้างคืน ) โดยความเห็นชอบของครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองช้างคืน และเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในการทำตะกรุดที่มีพุทธคุณทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด จากอาวุธและของมีคม จนเป็นที่รู้จักของคนในท้องถิ่นและคนต่างถิ่นและเป็นที่ยอมรับของมหาชนทุกสารทิศมาถึงทุกวันนี้
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูในตัว เนื้อทองเหลืองเคลือบนิกเกิ้ล ( ออกสีเงิน ) ด้านหน้าเป็นรูปพระนางจามเทวี (ท่ายืน ) มือขวาถือดาบ มือซ้ายถือธนู และยังสะพายลูกธนูแสดงถึงการพร้อมรบ ด้านหลังเป็นรูปพระธาตุเจดีย์ ทับหน้าโบสถ์ จำนวนสร้างทั้งหมด 3,000 เหรียญ เกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในขณะนั้น พอสังเขประกอบด้วย
- ครูบาเสาร์ ปัญโญ วัดหนองช้างคืน
- ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล วัดหนองช้างคืน
- ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ( วังมุย )
- ครูบาสิงห์แก้ว วัดป่าขาม
และยังสันนิษฐานว่าน่าจะมีสหายธรรมของครูบาจันต๊ะในยุคนั้นมาร่วมด้วนอีก 3 ท่านคือ
- ครูบาพรหมมา วัดพระบาทตากผ้า
- ครูบาชัยวงค์ วัดพระบาทห้วยต้ม
- ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
พิธีพุทธาพิเสกตามประเพณีเมืองเหนือแบบล้านนามีการบวงสรวงโดยพิธีพราหมณ์อัญเชิญดวงวิญญาณของพระนางจามเทวี พระเกจิอาจารย์นั่งปรกตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า
การเปิดให้เช่าบูชาสำหรับผู้สนใจในขณะนั้น ราคาเหรียญละ 10 บาท ยังไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าใดนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์จะมีแต่ชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้นที่บูชากันไว้หลังคาเรือนละ 1-2 เหรียญ มีบางครอบครัวที่เช่าไว้ให้ลูกหลานจนครบคน
จะด้วยหลักฐานอื่นใดไม่ทราบได้ว่า วัดหนองช้างคืนมีอายุครบ 700 ปี ซึ่งหลักฐานดังกล่าวนี้ได้ปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญพระนางจามเทวี รุ่นนี้ว่า
ที่ระลึกในวาระครบ 700 ปี วัดหนองช้างคืน 1 พฤษภาคม 2512 นั่นแสดงว่าวัดหนองช้างคืนมีอายุเก่าแก่กว่าเมืองเชียงใหม่ถึง 27 ปี ( เชียงใหม่ครบ 700 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2539 ) เวลาผ่านไปนับถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลา 38 ปี สนนราคาจากเดิมเหรียญละ 10 บาท กลายมาเป็นเหรียญยอดนิยมของจังหวัดลำพูน ซึ่งอยู่ในราคาหลักพันกลาง ๆ จนถึงเกือบหมื่น ในอนาคตข้างหน้าอาจจะทะลุหลักหมื่นก็เป็นไปได้ สาเหตุเนื่องมาจากจำนวนสร้างน้อย เกจิในยุคนั้นก็ล้วนมีวิทยาอาคมอันล้ำเลิศและด้วยอานุภาพพุทธคุณของเหรียญก็เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่ได้พกพา ซึ่งมีเรื่องมาเล่าให้ทางวัด ฯ ได้รับฟังอยู่เสมอ ๆ เกี่ยวกับเรื่องแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ให้โชค- ลาภ และยังเด่นเรื่องกิจการค้าขายเป็นเลิศ ผู้ใดมีไว้ครอบครองจงเก็บรักษาบูชาไว้ให้ดี ท่านจะพบกับความเจริญรุ่งเรืองและสิ่งที่พึงปรารถนาทุกประการ
...ต้น ไม้มงคล...